อนาคตอิยิปต์ในมือประธานาธิบดีที่ผ่านระบบการเลือกตั้ง
สำนักข่าวอะลามี่: "จับตาอนาคตอิยิปต์ ในมือประธานาธิบดี ที่ผ่านระบบการเลือกตั้ง" จะเข้าเดินตามสูตรหรือระบบ“อิสลามาธิปไตย” หรือไม่ " สำนักขาวอะลามี่".. รายงานจากประเทศอิยิบต์
หลังจากผู้นำอิยิปต์นายมุรซีย์ สั่งปลดผู้นำสภาทหารสูงสุดของกองทัพและประกาศยกเลิกกฎหมาย ซึ่งเปิดช่องทางให้กองทัพแบ่งอำนาจการบริหารจากประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2012 ส่งผลให้ประธานาธิบดีมีอำนาจเบ็ดเสร็จและชอบธรรมในการบริหารกิจการแผ่นดิน
ถึงเวลานี้กระบวนการ อิควานู้ลมุสลิมูน (ภาราดรภาพมุสลิมูน) ก็กลับมาแสดงบทบาทภายใต้สโลแกน ใหม่คือ “ ปฎิรูปการเมืองการปกครองโดยรวม” โดยการตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง ชื่อพรรค เสรีภาพและยุติธรรม และส่งตัวแทนตัวแทนลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนประชาชน จนได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย
โดยที่ นายมุรซีย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ด้วยการสนับสนุนจากพรรคเสรีภาพและยุติธรรม เช่นกัน
หลังจากนายมุรซีย์ สั่งปลดผู้นำทหารได้สำเร็จ การเมืองอิยิปต์ ก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ โดยนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือการเมืองข้างถนนก็สลายตัวลงตั้งแต่เดือน กรกฎาคมปีนี้
แต่ความสงบก็อยู่คู่บ้านเมืองอิยิปต์เพียงชั่วครู่ชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเกิดกระแสการต่อต้านระลอกใหม่ โดยการรวมตัวกันขึ้นมาจากกลุ่มต่าง ๆ เพื่อต่อต้าน การปฎิรูปการเมืองโดยกระบวนการอิควาน จนนำมาซึ่งการประท้วงเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
จากการประท้วงครั้งนี้ประสบผลสำเร็จอย่างที่น่าพอใจของผู้ชุมนุมได้ระดับหนึ่ง นั่นก็คือ ประธานาธิบดีมุรซีย์ ประกาศปรับท่าทีที่อ่อนลง ด้วยการประกาศจุดยืนอีกครั้งว่า ตัวประธานาธิบดีในวันนี้ เป็นตัวแทนของชาวอิยิปต์ ทุกฝ่ายทุกศาสนาและทุกคน โดยย้ำว่า ขณะนี้คณะกรรมมาธิการร่างรัฐธรรมนูญของประเทศซึ่งคัดสรรโดยสมาชิกพรรคการเมือง 22 พรรค กำลังดำเนินการพิจรณาแก้ไขรัฐธรรมนูญยังไม่แล้วเสร็จ ขอทุกฝ่ายให้โอกาสแก่ประเทศชาติได้เดินหน้า พร้อมกับให้หน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชุมนุม
กระทั่งองค์กรอิสระต่าง ๆ ประกาศปรับจุดยืนขององค์กรที่เป็นกลางมากยิ่งขึ้นนั่นก็คือร่วมกันเรียกร้อง ลด ละ เลิกความรุนแรงจากทุกฝ่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันมหาวิทยาลัย อัลอัซฮัร ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่ และเป็นที่ยอมรับของปวงชนชาวอิยิปต์อย่างกว้างขวาง มีมติส่ง เชค ฮาเชม อิสลาม หนึ่งจากคณสมาชิกผู้ชี้ขาดปัญหาแห่งอัซฮัร ฟ้องศาลฐานลุแก่อำนาจออกคำชี้ขาด ซึ่งก่อให้เกิดความแตกแยกโดยพละการ และสั่งปลดออกจากสมาชิกสภาชี้ขาดปัญหาอิสลามอย่างถาวร เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ทำให้ดีกรีความร้อนแรงของผู้ชุมนุมประท้วงลดลงอย่างปาฎิหาริย์
และอีกหนึ่งการลดปัญหาอย่างน่าทึ่งก็คือ ด๊อกเตอร์ยัซรอย์ ฮามาด โฆษกและนักวิชาการพรรคนูร ออกมายืนยันเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมนี้ว่า เงินปันผลซึ่งแบงค์ชาติอิยิปต์ เรียกเก็บจากการเปิดโครงการให้กู้ยืมแก่นักลงทุนเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและธุรกิจต่าง ๆ ไม่เป็นดอกเบี้ย ซึ่งจากเดิมเป็นที่ถกเถียงของนักวิขชาการว่า โครงการนี้อาจจะเข้าข่ายระบบดอกเบี้ย ซึ่งเป็นที่ต้องห้ามตามหลักการอิสลาม
ภาพรวมจากการชุมนุมครั้งนี้ มีการเปิดฉากปะทะกันหลายพื้นที่ แต่ไม่รุนแรงมากนักเนื่องจากหน่วยงานความมั่งคงและผู้รักความสงบเข้าระงับเหตุได้ทันในระยะเวลาอันสั้น มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาทเจ็บหลายสิบคนทั้งในไคโรและต่างจังหวัด
ขณะนี้การชุมนุมต่อต้านระบอบภราดรภาพมุสลิม ก็ยังปักหลักยืดเยื้ออยู่บางพื้นที่เช่นหน้าทำเนียบประธานาธิบดี เพื่อประกาศจุดยืนและรอคอยท่าทีของผู้นำ
ในสายตาของนักวิเคราะห์คาดว่า กลุ่มต่อต้านกระบวนการภราดรภาพมุสลิม ยังคงทำงานกันอย่างเป็นระบบเพื่อคอยเวลาและเงื่อนไข ที่จะรวมพลคนคนประท้วงมาทะลวงอำนาจการบริหารบ้านเมืองของประธานาธิบดีมุรซีย์ อย่างเป็นระยะ
ในมุมมองของผู้เขียน อิยิปต์ในอนาคตภายใต้การนำของประธานาธิบดีมูฮัมมัด มุรซีย์ น่าจะเป็นสูตรหรือระบบ (ประชาธิปไตย+บัญญัติอิสลาม) เท่ากับ “อิสลามาธิปไตย” หรือไม่