ฮาลาล อุตสาหกรรมอาหารโลก
โดย จันทร์เสี้ยว บางนรา
วันก่อนฟัง” ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ” เลขาธิการอาเซี่ยน พูดในเวทีการประชุมวิชาการนานาชาติวิทยาศาสตร์ฮาลาล อุตสาหกรรมและธุรกิจ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ซึ่งจัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันวิทยาศาสตร์ฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ดูแล้วน่าตื่นเต้นกับตัวเลขการส่งออก และความต้องการบริโภคของอุตสาหกรรมฮาลาลโดยรวมของทั้งโลก
ดร.สุรินทร์ บอกว่า ปัจจุบันมูลค่าการตลาดสินค้าฮาลาลทั่วโลกมีมากว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ไทยส่งออกสินค้าฮาลาลได้เพียง 5แสนล้านเหรียญดอลล่าสหรัฐ เท่านั้น
เมื่อเทียบกับตลาดความต้องของโลกกับผลิตผลิตในประเทศไทยถือว่ายังน้อยมาก ขณะที่ไทยเองเป็นที่ยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตอาหารฮาลาล อันดับ1ในอาเซียน และมีความพร้อมในด้านการผลิตทุกด้าน
ตลอดการฟังปาฎกของดร.สุรินทร์ ไม่เพียงแต่ได้ความรู้เรื่องตลาดฮาลาลเท่านั้น แต่ ฟังดร.สุรินทร์พูด แล้วทำให้เห็นถึงศักยภาพของ ดร.สุรินทร์ ที่บรรยายให้คนที่นั่งรับฟังในเวที ซึ่งมีทั้งแขกต่างชาติ และคนไทย
แต่การปาฎกของ ดร.สุรินทร์ ไม่ได้ทำให้คนไทยและคนต่างชาติต้องหาคนมาแปลซ้ำ เพราะ ดร.สุรินทร์ เล่นพูด ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทยบนกันไป แถมบางคำ ดร.สุรินทร์ ใช้ศัพท์ภาษาอาหรับ ทำให้ผู้ฟังไม่เบื่อ แถมยังเข้าใจไปพร้อมๆกันทั้งทั้งห้องประชุมด้วย
นี่คือประเด็นที่ต้องชื่นชม ศักยภาพและความสามารถของดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซี่ยน ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคนมุสลิมและคนไทย
แม้ว่าพัฒนาการของทางวิชาการและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ จัฒนาการไปไกล
แต่หากย้อนกลับมาดูกระบวนการบลริหารจัดการฮาลาลไทย ที่อยู่ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย แล้วน่าเศร้า
ขณะที่โลกกำลังก้าวไปข้างหน้า และประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน ในปี2558 แต่ดูเหมือนว่า กระบวนการบริหารจัดการของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบงานฮาลาล ยังไม่ไปถึงไหน
วันนี้ ประเทศมหาอำนาจอย่างออสเตรเลีย กำลังปรับทิศทางนโยบายทางการเมือง โดยหันมาคบค้าสมาคมกับโลกมุสลิมมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะประเทศอินโดนีเซียที่นับเป็นประเทศมุสลิมที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กำลังจะเป็นมหาอำนาจใหม่ในแถบนี้
จนถึงวันนี้ยังไม่สายที่องค์กรมุสลิม จะปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ไมใช่มาทะเลาะกันเพื่อเอาตำแหน่ง แต่ไม่ได้ทำงานเพื่อความคาดหวังของสังคม
“ฮาลาล”เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่จะสร้างเศรษฐกิจ ดังนั้น ไทยและ อาเซียน จึงต้องรวมมือกันผลิตสินค้าฮาลาล ที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้อนประชาคมโลกได้บริโภค
นี่คือทางออกของประเทศ ที่เราต้องรับหันมาทบทวนอย่างจริงจังครับ