จับตาบทบาท กก.กลางอิสลามฯชุดใหม่กับเบี้ยประชุมเฉียดล้าน/ครั้ง
โดย: จันทร์เสี้ยว บางนรา
สำนักข่าวอะลามี่ : คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่รองรับตามกฎหมายโดยมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารองค์กรศาสนาอิสลามฉบับ 2540 เป็นเครื่องมือสำคัญ
แต่คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถูกตั้งคำถามมากว่าในฐานะองค์กรนำของมุสลิมในประเทศไทยได้ทำประโยชนือะไรต่อสังคมมุสลิมมากน้อยแค่ไหน นอกจากจะมีข่าวความขัดแย้งและแย่งชิงผลประโยชน์ในสำนักงานโดยพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์จากเครื่องหมายฮาลาล
คณะกรรมกากรอิสลามประจังหวัด หลายคนมีการวิ่งเต้นในระดับจังหวัด เพื่อขอเป็นตัวแทน “คณะกกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” หลายคนที่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการประจำจังหวัด ก็วิ่งเข้าหาผู้มีอำนาจในองค์กรศาสนาและการเมือง เพื่อขอโควต้าจากจุฬาราชมนตรี ซึ่งมีอำนาจ1ใน3ของทั้งหมด มาเป็นคณะกรรมการกลางฯ
ปัจจุบันคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยมีตัวแทนจากระดับจังหวัดทั้งหมด 39 คน โดยในจำนวนนี้ 1ใน3หรือ 13คน เป็นโควต้าของจุฬาราชมนตรีตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งหมด 52คน รวมจุราชมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ดดยตำแหน่ง อีก 1รวมทั้งสิ้น 53 คน
หากจะย้อนกลับไปดูโครงสร้างการทำงานพบว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการกลางได้วางโครงสร้างโดยแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆประมาณ13ฝ่าย แต่ดูเหมือนว่า แต่ละฝ่ายมีแค่ตำแหน่งแต่ไม่เคยเห็นผลงาน หรือโครงการที่นำเสนอต่อสาธารณะชนที่เป็นรูปธรรม
ขณะที่ฝ่ายที่มีการพูดถึงมากที่สุดคดือฝ่ายฮาลาลที่มีบทบาทสำคัญเนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับรายได้ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยประมาณการรายได้ร่วม 50ล้าน/ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น
ขณะที่คนวงในระบุว่า รายได้ของคณะกรรมการกลางมาจากส่วนต่างๆประกอบด้วย รายได้จากการรับรองเครื่องหมายฮาลายปีละประมาณ 15 ล้านบาท รายได้จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ปีละประมาณ 10ล้านบาท รายได้จากค่าพาหะนะอีกราว 5ล้านบาท และที่สำคัญรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาอีกราว 25ล้านบาท ซึ่งถือว่า เป็นรายได้เกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด
มีการตั้งคำถามว่า งบประมาณจำนวนมาก นำไปใช้อะไรด้านไหนบ้าง..!!!!
และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ งบรายจ่ายที่คณะกรรมการกลางฯจ่ายไปนั้นเมื่อเทียบกับผลงานของคณะกรรมการกลางอิสลามฯ มันคุ้มกันหรือไม่…!!!!
ขณะที่คนวงใน เปิดเผยอีกว่า รายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางฯจำนวนหนึ่ง จะถูกจ่ายเป็นค่าเบี้ยประชุม โดยจะนัดประชุมเดือนละครั้ง โดยมีค่าเบี้ยประชุม ค่าเดินทาง ค่าที่พักรวมแล้วคนหนึ่งตกกว่า 1 หมื่นบาท รวมทั้งหมด 53 คน ต้องใช้เงินประขุมครั้งละกว่า 7 แสนบาท
มีคำถามต่อว่า............เงินกว่า 7 แสนบาทต่อเดือน คุ้มค่ากับการทำงานของคณะกรรมการอิสลาม แต่ละฝ่ายหรือไม่ ..!!!
ในจำนวนนี้ไม่รวมการประชุมของอนุกรรมการแต่ละฝ่าย ที่มีการแต่งตั้งกันแบบพวกใครพวกมันนอกจากนี้พบว่าแต่ละฝ่ายยังตั้งอนุกรรมการกันแบบซ้ำซ้อน
นอกจากนี้ยังมีการจ่ายเงินประจำตำแหน่งประธานฝ่ายต่างๆอีกคนละ10,000บาท
หากกล่าวถึงเม็ดเงินที่เป็นรายได้ของคณะกรรมการกลางฯ อาจไม่มาก แต่ก็นับว่าเป็นเม็ดเงินที่ไม่น้อย จึงฝากถึง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ชุดใหม่ จะต้องตอบคำถามสังคมว่า ตำแหน่งและบทบาท ที่ได้รับมอบหมาย กับการใช้เงินแต่ละบาท จะต้องตรวจสอบได้และใช้ให้อย่างคุ้มค่า
มินั้นจะเป็นการละเลงงบประมาณ ดั่งเอาเกลือไปละลายแม่น้ำ ที่ไร้ประโยชน์ ....