The Alami Report
Home   /   The Alami Report  /   “ฮาลาล”กับประชาคมอาเซี่ยน

“ฮาลาล”กับประชาคมอาเซี่ยน

โดย : จันทร์เสี้ยว

           สำนักข่าวอะลามี่ : ในปี 2558 หรือ ปี 2015 ประเทศไทยจะเป็น1ใน10 ประเทศสมาชิกอาเซี่ยน ที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ที่สมบูรณ์

           นั่นหมายความว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอาเซี่ยน และเมื่อนั้นอาเซียนก็เปรียบเหมือนประเทศหนึ่ง ที่มี 10 หัวเมืองใหญ่หรือ 10รัฐ ซึ่งแต่ละเมืองหรือแต่ละรัฐจะมีการปกครอง วัฒนธรรม ศาสนา ฯลฯ ที่แตกต่างกันออกไป

         โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรส่วนใหญ่ของประชาคมอาเซียนเป็นชาวมุสลิม หรือประมาณ 300 ล้านคน จากประชากรในอาเซี่ยนทั้งหมดกว่า 600 ล้านคน เมื่อเทียบเทียบสัดส่วนประชากรเกือบ 60เปอร์เซ็นต์ของประชาการทั้งหมดเป็นประชากรมุสลิม

          ล่าสุด อาเซี่ยน กำลังก่อตั้งกองทุนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนในการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคของสมาชิกอาเซี่ยนจำนวน 485.2 ล้านดอลลาร์ จะถูกจัดสรรจาก มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) โดยมีจุดหมายปล่อยกู้ เพื่อช่วยเหลือแก่ชาติสมาชิก ในโครงการพัฒนาด้านต่างๆ ปีละ 6 โครงการ และหวังว่าภายในปี 2563 กองทุนอาเซียนนี้ จะเสนอปล่อยกู้แก่ชาติสมาชิกได้ 4 พันล้านดอลลาร์ และจะมีเงินรวมในกองทุนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 13,000 ล้านดอลลาร์

           นี่คือความก้าวหน้าของเขตเศรษฐกิจประชาคมอาเซี่ยนที่กำลังก้าวย่างอยู่ในขณะนี้

          หากเราหันมามององค์กรมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย แม้จะไม่ใช่องค์กรธุรกิจ แต่อย่าลืมว่า คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้มีลิขสิทธิ์เครื่องหมายฮาลาล ที่รับรองสินค้าให้กับผู้ประกอบการในประเทศไทย

         ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศมุสลิม จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายฮาลาล เพื่อยืนยันว่า สินค้าของผู้ประกอบการได้รับการรับรองว่า ผลิตภัณฑ์ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม

        แต่อย่าลืมว่า เครื่องหมายฮาลาล ไม่ใช่เอกสิทธิ์ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพียงแต่มีการตกลงกันของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด กับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศว่า ประเทศไทยใช้เครื่องหมาย สีเหลี่ยมขนมเปียกปูน เท่านั้น

          ความจริง ตราฮาลาล นั้น องค์กรไหนหรือใคร ก็สามารถสร้างเครื่องหมายฮาลาล ขึ้นมาก็ได้ เพียงแต่เครื่องหมายฮาลาล ของหน่วยงานไหนหรือ องค์กรใดจะได้รับการยอมรับมากกว่าเท่านั้นเอง

           ในปี 2558 ที่จะมาถึงนี้ หากองค์กรหลักของมุสลิมในประเทศไทย ไม่ปรับตัวหรือสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ไม่เพียงรายได้หลักของคณะกรรมการกลางฯ จะมาจากการออกใบรับฮาลาลจะไม่มีรายได้แล้ว

           เครื่องหมายฮาลาลของประเทศสมาชิกในอาเซี่ยน จะแชร์ส่วนแบ่งนี้ เมื่อนั้น เครื่องหมารยฮาลาลไทย ก็จะหมดความหมายทันที

           นั่นคือ...สัญญาณอันตรายของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ที่ไม่เพียงหมดความน่าเชื่อเท่านั้น ยังเป็นวิกฤติ ที่กำลังมาเยือน ที่ผู้มีอำนาจต้องตระหนักเช่นกัน