เปิดประตูการค้าอาเซี่ยน เมื่อ..ถนนทุกสายมู่งสู่”อินโดเนเซีย”
By: Ekkarat mukem
Editor in chief The Alami Magazine
+++++++++++++++++++
สำนักข่าวอะลามี่ : ถนนทุกสายกำลังมุ่งหน้าสู่ประเทศอินโดเนเซีย โดยเฉพาะการเปิดประตูการค้าเสรีอาเซียน เรามารู้จักประเทศอินโดเนเซีย ผ่าน “ ลุตฟี ราอุฟ ” H.E.Lutfi Rauf เอกอัครราชทูตอินโดเนเซีย ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษ นิตยสาร ดิ อะลามี่
นี่ คือมุมมองที่นักลงทุนและคนไทยไม่ควรพลาด เพราะบรรทัดต่อบรรทัด ล้วนเป็นข้อมูลที่มีผลต่อการตัดสินใจ
ช่วยอธิบายภาพรวม และทิศทางเศรษฐกิจของอินโดเนเซีย
Lutfi : ประเทศอินโดเนเซีย เป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะเล็กใหญ่ มากที่สุดในโลกกว่า17,000 เกาะ และครอบคลุมถึง3เ ขตโซนเวลา มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วเป็นอันดับที่สามในเอเชีย เฉลี่ย GDP มวลรวมอยู่ที่ 34 %ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ ในปีนี้ GDP ของอินโดเนเซีย สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มวลรวมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเรา ขึ้นอยู่ที่อันดับ15 ของโลก เราจะผลักดันทางเศรษฐกิจสู่อันดับท็อปเท็น(TOP10) ในอีกสิบปีข้างหน้า “
และด้วยความต้องการในการบริโภคของประชากรภายในประเทศที่มีมากกว่า 240 ล้านคน อินโดเนเซีย จึงเป็นประเทศที่นักลงทุนเล็งมากที่สุด เพราะเป็นประเทศที่ใหญ่อันดับหนึ่งในภูมิภาค และอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
“ ในปีที่ผ่านมา (มกราคม-กันยายน)ขยายตัว 229.9 ล้านล้าน รูเปียห์( 23.95 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 81% จากเป้าที่วางไว้ ในปี 2012 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2011 ซึ่งเติบโตเพียงร้อยละ 27 เท่านั้น”
นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ได้คาดการณ์ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในแง่ดีภายในปี 2050 จีดีพี รวมของประเทศเอเชีย จะพุ่งเป็นจาก 16 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2010 ไปอยู่ที่ 148 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2050 ประชากรราวสองพันล้านคน จะเข้าสู่ระดับสถานะทางเศรษฐกิจระดับกลางและร้อยละ 90 ของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกมาจากภาคพื้นเอเชีย และหนึ่งในนั้นคือ อินโดเนเซีย
ดังนั้นประเทศอินโดเนเซีย จึงไม่เพียงเป็นที่จับตามองของนักลงทุนเท่านั้น มันยังเป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่จะเข้ามาแสวงหาโอกาสทางการเงิน
คิดว่ามีปัจจัยอะไรที่ให้นักลงทุนต่างชาติต้องสนใจเข้ามาลงทุนในอินโดเนเซีย?
Lutfi : จุดแข็งสำคัญของอินโดเนเซีย ในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ นอกเหนือเศรษฐกิจ ที่กำลังเดินหน้าเติบโตดังกล่าวข้างต้น ความมั่นคงทางการเมืองและความอุดมสมบูรณ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ของคนหนุ่มสาว (ความต้องการของตลาดแรงงาน)
ความเสถียรภาพทางการเมืองและการปฏิรูประบบ การปกครอง อินโดเนเซีย มีส่วนช่วยในการสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่เป็นจุดแข็ง และเป็นที่จับตามองของนักลงทุน ความเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้นักลงทุนมองถึงปัจจัยความมั่นคงในการลงทุนมากกว่าอัตราเสี่ยงและผลกระทบที่ตามมาภายหลังจากการลงทุน
“ อินโดเนเซีย มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ อินโดเนเซีย มีความหลากหลายทางชีวภาพเช่นเดียวกับประเทศบราซิลและแอฟริกาใต้ และสามารถแสวงหาได้ในประเทศอินโดเนเซียอาทิ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานความร้อนใต้พิภพ ดีบุก ทองแดง นิกเกิล อลูมิเนียม เหล็ก โกโก้ กาแฟ รวมถึงทรัพยากรน้ำมันใต้ดิน ใต้ทะเลและแม้กระทั่งบนพื้นดิน ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น“ ทรัพยากรเหล่านี้ คือ โอกาสในการลงทุนอย่างมหาศาล นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทนที่ยังไม่ได้นำมาใช้อีกมากมาย"
อินโดเนเซีย มีตลาดผู้บริโภคภายในรายใหญ่ ประชากรกว่า 240 ล้านคน ถือเป็นกำลังสำคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ประชากรกว่า 50% อาศัยอยู่ในเขตเมืองย่านเศรษฐกิจ และมีการดำเนินดำเนินชีวิตที่ทันสมัย ชนชั้นกลางเป็นกำลังสำคัญ ที่ทำให้สนับสนุนการเติบโตของ GDP กว่าร้อยละ50 ของสถิติ GDP ที่มาจากภาคอุตสาหกรรมและอุปโภคบริโภค
มีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในอินโดเนเซีย มากน้อยแค่ไหน ?
Lutfi : นับตั้งแต่ 6 ปีที่ผ่านมา การลงทุนของชาวไทยในประเทศอินโดนีเซียมีประมาณร้อยละ 0.36 ของการลงทุนทั้งหมด ในปี 2012 (มกราคม-กันยายน) มูลค่าการลงทุนของนักลงทุนชาวไทย เฉลี่ยประมาณ 15.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่การลงทุนจะอยู่ที่ภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมแปรรูปจากยางพารา พลาสติก การขนส่ง และการสื่อสารโทรคมนาคม ฯลฯ นักลงทุนรายใหญ่ของไทยอาทิ เช่น บริษัทในเครือ ซีเมนต์ไทย บ้านปู ปตท.กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ อุตสาหกรรมของนักลงทุนเหล่านี้เพื่อที่จะป้อนสู่ตลาดเศรษฐกิจในปี 2014
ในฐานะเป็นนักการทูตฯต้องการส่งเสริมให้คนไทยไปลงทุนอินโดเนเซีย อย่างไร?
Lutfi : รัฐบาลได้กำหนดลำดับความสำคัญการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม 6 ชนิด อุตสาหกรรมที่ต้อง ใช้กลุ่มแรงงานฝีมือพิเศษเฉพาะด้านทั้งในภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดกลาง อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ รวมทั้งอุตสาหกรรม ที่ต้องการฝีมือแรงงานเชี่ยวชาญพิเศษ อย่างเช่น ซีเมนต์ และปิโตรเคมี
ที่ผ่านมาเราดำเนินการจัดทำแผนแม่บทสำหรับการเร่งและการขยายตัวเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย (MP3EI) 2011-2025 ซึ่งอินโดนีเซีย ในขณะนี้ขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการเร่งพัฒนาการการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาเศรษฐกิจ
“ MP3EI มีแผนการที่ จะขับเคลื่อนเปลี่ยนเศรษฐกิจอินโดเนเซีย และยกระดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามแผนแม่บทที่วางไว้ อินโดเนเซีย พยายามที่จะขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่มั่งคั่งและยั่งยืน เราได้วางเป้าหมายจะจัดเข้าสู่ประเทศที่มีการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ในปี 2025 และ 1 ใน 6 ในปี 2050
ส่วนนักลงทุนอินโดเนซีย ที่เข้ามาลงทุนในไทย ปี 2011 (มกราคม-กันยายน) มีบริษัทที่ผ่านการอนุมัติของ BOI รายการเดียว มูลค่า 43 ล้านบาท (1.39 ล้านเหรียญสหรัฐ)โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคการบริการและการบริการสาธารณะ อุตสาหกรรมกระดาษ เคมีภัณฑ์ พลาสติก สินค้าการเกษตร โลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งและอุปกรณ์การทำเหมืองแร่ อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมเบาและเซรามิก
ประชาคมอาเซียน( AEC)ที่กำลังมาถึง คิดว่าความร่วมมือของประชาคมอาเซียนด้านไหนที่จะต้องเพิ่มหรือ กระชับให้มากขึ้น
Lutfi : ประชาคมอาเซียนมีความความร่วมมือ ด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน สามเสาหลักที่สนับสนุนซึ่งกัน ทำให้เกิดความสงบสุข ความมั่นคง ความเจริญรุ่งเรืองและความสามัคคี
“ ผมเชื่อว่าเสาหลักสามประการ เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการทำให้การประชาคมอาเซียน มีความปลอดภัย สันติสุขและความมั่นคง อันเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคระหว่างกลุ่มอาเซียนและประเทศคู่เจรจา อันนำมาซึ่งความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค”
นอกจากนี้เราต้องสร้างความเข้าใจความเป็นอาเซียนให้มากขึ้น เช่น คนไทยเริ่มที่จะเรียนรู้ภาษาอินโดนีเซียอินโดนีเซียเรียนรู้วัฒนธรรมไทย ที่สำคัญเราไม่สามารถทำธุรกิจการค้าแบบตลาดเดียวโดยไม่มีการแลกเปลี่ยน
“ อาเซียนไม่ใช่เพียงเป็นประชาคมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่อาเซียนเป็นประชาคมของชาวโลกทุกประเทศ ทุกภูมิภาคต้องการมีมิตรไมตรีกับอาเซียน ภูมิภาคอาเซียน เป็นภูมิภาคแห่งสันติภาพ มั่นคง และเจริญรุ่งเรือง”
ปัญหาการเหลื่อมล้ำน่านน้ำของชาวประมง AECจะมีผลลดความขัดแย้งหรือไม่
Lutfi : ปัญหาน่านน้ำและผลประโยชน์ทางทะเล ไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไปเมื่อเข้าสู่ AEC แต่ที่สำคัญประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่ติดทะเลควรที่จะ MOU กันในการทำประมงร่วมกัน และสามารถวางตลาดการประมงทุกได้ทุกที่ในภูมิภาคอาเซียน จะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง.
ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย จะมีผลกระทบกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ?
Lutfi : เราต้องรู้ ต้องเข้าใจ ถึงปัญหาหลักของสามจังหวัด หากย้อนดูประเทศอินโดเนเซีย เรามีมากกว่า 400 ชาติพันธุ์ 200 กว่าภาษา ซึ่งวัฒนธรรมของกลุ่มเหล่านี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง อีกทั้งยังมีอีกนับร้อยศาสนาและความเชื่อ
“ รัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งสองฝ่ายควรหันมาเจรจา ไม่ใช่อีกฝ่ายไม่ยอมเจรจาหรือปฏิเสธข้อเสนอ เพราะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบคือประชาชน”
จากกรณีของ จังหวัดอาเจะห์ อินโดเนเซีย เราใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหาระหว่างรัฐกับกลุ่มGAM ( Gerakan Aceh Merdeka) ไม่สามารถเผชิญหน้ากันได้ เราก็หาวิธีเอาคนกลางเป็นตัวช่วยในการเจรจาและสังเกตการณ์ เช่น ประเทศไทย ทีส่งหน่วยสังเกตการณ์สันติภาพให้กับเรา ทำให้ปัจจุบัน อาเจะห์ ไม่ใช่ปัญหาของเราอีกต่อไป
หมายเหตุ: ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับที่ 3 เดือน พฤศจิกายน 2555