The Alami Report
Home   /   The Alami Report  /   นิตยสารอะลามี่ สื่อมุสลิมในกระแสอาเซียน

นิตยสารอะลามี่ สื่อมุสลิมในกระแสอาเซียน

            สำนักข่าวอะลามี่:  เปิดวิสัยทัศน์ นิตยสาร ดิ อะลามี่  กับบทบาทการทำงานสื่อมุสลิม ในรูปแบบใหม่ “ นิตยสารรายเดือนที่เน้นข่าวสารเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจผ่านบทความและงานเขียน หวังเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่เวทีประชาคมอาเซียน


            นายเอกราช มูเก็ม กรรมการผู้จัดการ บริษัท อะลามี่ มีเดีย จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสาร ดิ อะลามี่ และ เวปไซด์ ข่าวออนไลน์ www.thealami.com กล่าวถึง จุดเริ่มต้นของนิตยสาร ดิอะลามี่ ว่า  จากประสบการณ์การทำงาน สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง7 หนังสือพิมพ์แนวหน้า หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ และ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในเครือเนชั่น ผ่านสื่อกระแสหลักกว่า20ปี  ได้เห็นการทำงานและบทบาทตลอดจนพัฒนาการของสื่อทั้งในและต่างประเทศ

            “ จากประสบการณ์ที่เคยทำงานสื่อในประเทศไทยและเคยร่วมงานกับสื่อจากต่างประเทศ เห็นว่าโลกของสื่อก้าวไกลมาก ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นมุสลิม เราก้หันกลับมาดูบทบาทและการทำงานของสื่อมุสลิมพบว่า ยังมีช่องว่าง ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทั้งด่านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน  ขณะเดียวกันนักธุรกิจมุสลิมก็เริ่มขยายตัวมากขึ้น แต่ยังไม่มีสื่อมุสลิมที่จะมารองรับข่าวสารด้านเศรษฐกิจ”

            เอกราช กล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การทำงานในสื่อกระแสหลัก เห็นแรนวโน้มการขยายตัวของตลาดมุสลิม โดยเห็นว่า สื่อกระแสหลักเองให้ความสนใจข่าวสารเศรษฐกิจของมุสลิมน้อยมาก ขณะที่สื่อมุสลิมในประเทศไทยส่วนใหญ่นำเสนอข่าวสังคม ไม่มีสื่อแนวเศรษฐกิจ จึงมองว่านี่คือช่องว่างทางการตลาดที่น่าสนใจ

            “เราเริ่มต้นจากการทำเวปไซด์ข่าว โดยใช้ชื่อว่า สำนักข่าวอะลามี่ นำเสนอข่าวสารสังคมมุสลิมในมิติต่างๆอาทิเช่น ข่าวเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การเงินอิสลาม อุตสาหกรรมฮาลาล และวาไรตี้ โดยผ่านช่องทางเวปไซด์ www.thealami.com ตั้งแต่ปี 2554”

            บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร ดิ อะลามี่  กล่าวอีกว่า จุดเด่นของ สำนักข่าวอะลามี่ คือกองบรรณาธิการจะผลิตข่าวเอง สัมภาษณ์แหล่งข่าวแบบเข้าถึงแหล่งข่าว และนำเสนอข่าวสารที่แปลกใหม่ อาทิเช่น การเงินอิสลาม เศรษฐกิจการ และการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฮาลาล ซึ่งนับว่าเป็นสื่อแรกๆของประเทศไทยที่นำเสนอข่าวแนวเศรษฐกิจนำ

            “สองปีต่อมา ในปี 2556 เราออกนิตยสารเล่มแรกซึ่งเป็นฉบับปฐมฤกษ์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นมา จนถึงขณะนี้กว่าสามปี ทำให้นิตยสาร ดิอะลามี่ เริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ”

            เอกราช กล่าวว่า สำหรับนิตยสารดิอะลามี่ เป็นการต่อยอดจากเวปไซด์ โดยยึดแนวการทำงานเหมือนเดิมโดยเน้นเศรษฐกิจเป็นหลัก นอกจากนี้ยังได้เชิญคอลัมนิสต์ ที่มีประสบการณ์เฉพาะทาง และเป็นผู้เชียวชาญเฉพาะด้านมาเขียน นับได้ว่า นิตยสาร ดิ อะลามี่ เป็นสื่อที่สามารถรวบรวมนักคิด นักวิชาการมุสลิมระดับแถวหน้า มาช่วยกันเขียน ซึ่งทุกคนทำงานด้วยเจตนารมย์เดียวกันกับการเกิดขึ้นของอะลามี่ ว่าจะทำอย่างไรให้ สื่อมุสลิมเป็นที่ยอมรับในสังคมทั้งในสังคมมุสลิมและสังคมโดยรวม

            “ผมมีนโยบายสำคัญคือจะพยายามนำเสนอข่าวสารในเชิงบวกใหกับสังคมมุสลิม ค้นหาไอดอลทางธุรกิจ และการดำเนินชีวิต ตลอดจนวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยเฉพาอย่างยิ่งจากสถานการณ์ชายแดนใต้ที่ผ่านมามักจะมีภาพลบจากพื้นที่ แต่เราจะพยายามนำเสนอด้านบวกของคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ และการอยู่ร่วมกันบนพหุสังคม”


            นอกจากนี้ นิตยสาร ดิ อะลามี่ ยังนำเสนอเรื่องราวการค้า และนำเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับการเข้ามาของเวทีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และข่าวสารจากโลกมุสลิม ในมุมมองที่ต่างจากสื่อกระแสหลัก โดยคอนเซ็ปคือ มองอาเซียนผ่านสายตามุสลิม

            ทั้งนี้อาเซียน มีประชากรกว่า600 ล้านคน ในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งหรือประมาณ300 ล้านคน เป็นประชากรที่ใช้ภาษามลายูในการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ประกอบกับศักยภาพของประเทศนับว่าเป็นประเทศที่น่สนใจ เราจึงให้ความสำคัญกับตลาดกลุ่มมนี้เป็นพิเศษ แต่ไม่ได้ละเลยประเทศเพื่อนบ้านทีทมีรอยต่อ ทั้ง ลาว เมียนมาร์ และจีนบางส่วน

             “เราพยายามวางตัวให้เป็นสะพานเชื่อม ในหลากหลายมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และการค้า กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และสิงคโปร์ เพื่อเป็นทางเลือกของผู้ประกอบการในการเข้าถึงแหล่งการค้าและคู่ค้าทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น “ เอกราช กล่าว