The Alami Report
Home   /   The Alami Report  /   ศูนย์นโยบายโลกอิสลามเปิดเวทีถกอนาคตแคชเมียร์

ศูนย์นโยบายโลกอิสลามเปิดเวทีถกอนาคตแคชเมียร์

โดย: เฉลิมขวัญ ศรีบุญเรือง

             สำนักข่าวอะลามี่: ศูนย์นโยบายโลกมุสลิม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เปิดเวทีสัมนา “Kashmir: Conflict and Opportunities” หวังแสวงหาความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกมุสลิม ขณะที่เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระบุต้นตอปัญหาหลังอินเดียยึดครองบางส่วนแคว้นแคชเมียร์ โดยไม่สนใจต่อเสียงคัดค้านของปากีสถาน จน ทำไปสู่กรณีพิพาทของทั้งสองประเทศ

             นาย ซุเฮล มะห์มูด (H.E. Mr.Sohail  Mahmood)เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ประจำประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาการขัดแย้งของแคชเมียร์ว่า ในอดีต ความขัดแย้งในการแย่งชิงดินแดน รัฐจัมมู-แคชมีร หรือแคชเมียร์ คือ รัฐที่อยู่เหนือสุดของอินเดีย ดินแดนส่วนมากตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย นอกจากนั้นยังมีบริเวณพิพาทระหว่างอินเดีย ปากีสถานและจีน

              โดยที่ทั้งสองรัฐนเคยเป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา ต่อมาได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลามและเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิดุรรานีในอัฟกานิสถาน จักรวรรดิโมกุลในอินเดีย และเคยอยู่ภายใต้การปกครองของชาวซิกข์

            “ในยุคที่อังกฤษเข้ามากษัตริย์ของทั้งสองรัฐช่วยอังกฤษรบกับชาวซิกข์ จนในภายหลังก็สามารถขับไล่ชาวซิกข์ออกไปได้ และได้เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษโดยแคว้นจัมมูและแคชเมียร์เป็นหนึ่งใน 560 รัฐ ที่ได้รับอนุญาตให้ปกครองตนเอง ภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ”นาย ซุเฮล กล่าวและว่า

             ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากผู้ปกครองแคว้นจัมมู และแคชเมียร์ ไม่สามารถตัดสินใจได้ เนื่องจากตัวท่านนับถือศาสนาฮินดู ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จนเกิดการรวมตัวกันและต่อต้านของชาวมุสลิมทำให้ราชาแห่งแคชเมียร์ ตัดสินใจนำแคว้นของตนเข้ารวมกับอินเดีย

             จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1947 อังกฤษได้คืนเอกราชแก่อินเดีย และมีการแบ่งแยกเป็นอินเดียและปากีสถานแต่เงื่อนปมที่เพิ่มขึ้นมา หลังการแยกประเทศก็คือเรื่อง ศาสนาและการแบ่งแยกเขตแดนโดยเฉพาะแคว้นแคชเมียร์ และในที่สุดอินเดีย ก็ได้ยึดครองบางส่วนของแคว้นแคชเมียร์เป็นของตน โดยไม่สนใจต่อเสียงคัดค้านของปากีสถาน ทำให้กลายเป็นกรณีพิพาทของทั้งสองประเทศ จวบจนปัจจุบัน

              นายมะห์มูด กล่าวอีกว่าแม้ว่าสหรัฐอเมริกา จะพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาเพื่อให้สองประเทศสามารถพูดคุยกันได้อย่างสันติ เพราะทั้งปากีสถานและอินเดีย ถือว่าเป็นมิตรประเทศของสหรัฐอเมริกาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและด้านความมั่นคง  ซึ่งในฐานะที่ตนเป็นตัวแทนปากีสถานยืนยันว่าพร้อมสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย แต่ที่ผ่านมาอินเดียไม่ยอม

               ขณะที่ นายฮุสนี ฮาหมัด  ผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ แพนเอเซีย กล่าวว่า ตนมีประสบการณ์เคยอยู่อินเดีย 5 ปี และแคชเมียร์ อีก1 เดือน  โดยตั้งข้อสังเกตว่า จากประสบการณ์พบว่าชาวบ้านให้ความร่วมมือในการเมืองระดับท้องถิ่น ส่วนการไม่ยอมรับการเมือง มาจากผู้คนที่มีการศึกษาสูง อย่างไรก็ตามได้ตั้งคำถามในที่ประชุมว่า มุสลิมอินเดีย 300 ล้านคน ถ้าแยกตัวเป็นอิสระ แคชเมียร์จะเป็นอย่างไร

               ขณะที่ เอกอัคราชฑูตปากีสถานประจำกรุงเทพฯ ให้ข้อมูลเพิ่มว่า อินเดียอาจไม่ยอม เพราะข้ออ้างชนกลุ่มน้อย เพราะ  มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยในอินเดีย ถึงให้วิธีการโหวต กลุ่มฮินดู ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ก็ชนะอยู่ดี

             ด้าน ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายโลกมุสลิม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มองว่าหากมีการโหวต ให้เป็นการตัดสินรายบุคคลไม่ได้ การตัดสินใจต้องเป็นระดับรัฐ โดยคำนึงในส่วนของภูมิศาสตร์  ประชากร ความปรารถนาของประชาชน  เป็นหลัก

             อย่างไรก็ตาม เอกอัคราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ประจำประเทศไทย กล่าวสรุป โดย ระบุว่า เรารอความหวัง เพราะเราอยู่ในโลกนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 50 ปีข้างหน้าอาจแก้ไขได้ก็ได้ เช่น ฮ่องกง  หรือประเทศอื่นๆ ยังเป็นอิสระปกครองตนเองได้ และ อยากให้ประเทศอื่นมีส่วนร่วมด้วย และนานาชาติมีบทบาทมากๆ หากเราแก้ปัญหาแคชเมียร์ ในหนทางที่ยุติธรรม ก็อาจแก้ปัญหาได้ “Same God SameWay  Sametime”