มนต์เสน่ห์วิถีแห่งพม่า ณ กรุงย่างกุ้ง
โดย ชินภัทร์ ไชยมล
สำนักข่าวอะลามี่ : 5นาทีก่อนเครื่องบินจะร่อนลงสู่สนามบินย่างกุ้ง (Yangon International Airport) ในระดับความสูงที่ต่ำลงสู่พื้นดินเรื่อยๆสิ่งที่มองเห็นในเบื้องล่าง คือ ทุ่งนาข้าว และบ้านเรือนประชาชน ที่สร้างด้วยวิถีเรียบง่าย
ด้วยความรู้สึกของคนที่ไม่เคยเดินทางมายังกรุงย่างกุ้ง มาก่อน ลึกๆแล้วมีความหวาดหวั่นไม่น้อยที่จะให้รู้สึกว่า ย่างกุ้ง เมืองหลวงประเทศพม่า อีกทั้งยังจินตนาการยาวไปถึง การคาดหวังในเรื่องการบริการ ในขณะที่พักในโรงแรมและอีก3วันจากนี้ไปที่ต้องอยู่ในย่างกุ้ง จะเป็นอย่างไร
แต่หลังจากที่สัมผัสครั้งแรกเมื่อมาถึงโรงแรมกลับเป็นดั่งภาพที่จินตนาการไม่ หลังจากที่สัมผัสแผ่นดินพม่าครั้งแรก ณ เมืองย่างกุ้ง เมื่อผ่านพิธีการด่านตรวจคนเข้าเมือง แม้เอกสารบางอย่างที่เราไม้เข้าใจ แต่ได้รับการช่วยเหลือและกรอกรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ อย่างน่าประทับใจ ด้วยรอยยิ้มที่น่ารัก
. .. อุ่นใจขึ้นอีกไม่น้อย ก่อนจะเดินทางต่อโดยแท็กซี่ไปยังโรงแรมที่พัก
ถึงโรงแรมในเวลาประมาณ18.30 น. กวาดสายตาไปรอบๆจะเห็นว่าพนักงานทั้งหมดของโรงแรมล้วนแต่จะเป็นผู้ชายทั้งนั้น ระหว่างยื่นเอกสารการจองให้กับพนักงานโรงแรม เพียงแค่ไม่ถึง 5 นาที ประตูลิฟหน้าเคาน์เตอร์ ก็เปิดออก พร้อมบริการเสริฟ น้ำส้มเย็นๆ ก่อนจะขึ้นสู่ที่พัก
ก่อนการเดินทาง ผมได้จองห้องพักทางอินเตอร์เน็ต ต้องยอมรับความจริงว่า เป็นห่วงภาพที่ปรากฏทางเว็บไซต์ ว่ามันจะสวยหรูดั่งที่โฆษณาแค่ไหน
กระทั่งสรุปได้ในช่วงหัวค่ำวันเดียวกันว่า สุดยอดจริงๆ บริเวณชั้น7ของโรงแรมซึ่งจักเป็นห้องอาหาร สิ่งแรกที่ประทับใจคือ มหาเจดีย์ชเวดากอง ที่กำลังฉายแสงงดงามอลังการ ทำให้อดใจไม่ได้ที่จะต้องกดชัดเตอร์ เพื่ออวดสายตาชาวโลกผ่านเฟสบุ๊ค
แสงทองของมหาเจดีย์กระทบกับแสงไฟ สะท้อนออกมาเป็นประกายวาว รู้ซึ้งถึงความสวยงาม ตามคำบอกเล่าแล้วล่ะ
สำหรับห้องอาหารที่นี่ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง ไม่มีเงื่อนไขว่าจะมีแขกจำนวนสักกี่คน ก็พร้อมให้บริการ จากนั้นไม่รีรอที่จะนำภาพขึ้นเฟสบุค อยากสื่อสารออกไป ว่า.... เราไม่ผิดหวังในการเดินทาง ที่พักสวยดั่งใจ บรรยากาศดี ตั้งแต่ภาพแรกเป็นภาพมุมไกลของมหาเจดีย์ชเวดากอง
ส่วนบรรยากาศในช่วงเช้าโดนใจกับร้านน้ำชา เสมือนกับบรรยากาศยามเช้าทางภาคใต้ของเมืองไทย เริ่มจากจุดนั้นเราได้เห็นภาพความสนใจการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวของประชาชนชาวพม่าต่อบทบาทของนางอองซานซูจี หญิงเหล็กผู้นำด้านประชาธิปไตยของพม่า โดยเฉพาะกลุ่มหนุ่มสาวหรือคนรุ่นใหม่
ช่วงสายๆของวันนี้ ที่นี่ไม่มีฝนตกลงมาเหมือนกับทุกๆวัน ภายในกรุงย่างกุ้ง ผมพยายามเดินเก็บภาพสัมผัสวิถีชีวิตของชาวเมืองย่างกุ้ง อย่างแรกที่พอจะมองเห็นคือ ความหลากหลายของชาติพันธุ์ ซึ่งพอจะมองออกได้จากสีผิว และบุกลิค ตลอดจนรูปร่าง ที่แตกต่างกันออกไป
และหนึ่งจำนวนนี้ เห็นจะเป็นชาวพม่า ที่มีเชื้อชาติมาจากประเทศตะวันออกกลาง และชาวพม่าโดยแท้แต่นับถือศาสนาอิสลาม กิจการ บริษัท ห้าง ร้าน จำนวนมาก ที่ดำเนินกิจการโดยชาวมุสลิม
มิติที่แตกต่างของชุมชนเมือง อย่าง กรุงย่างกุ้ง เห็นได้ชัดว่า ผู้คนจำนวนหนึ่ง ต้
องแก่งแย่งกันทำมาหากินอย่างดุดัน เช่น รถแท็กซี่บริการ รถเมล์ประจำทาง โดยเฉพาะรถเมล์ประจำทางดูเหมือนจะมีความอันตรายไม่น้อยกับผู้โดยสาร ที่ขาดความคล่องแคล่งว่องไว ในการ ขึ้น-ลง รถ เพราะขืนช้าเป็นมีโอกาสเจ็บก็เท่านั้น
ขณะเดียวกันเมื่อหันมามองในส่วนของอาชีพบริการส่วนใหญ่ ที่เป็นประเภทสำนักงาน ห้างร้าน กลับดูจะน่าประทับใจ เป็นภาพที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง แม้จะเป็นสังคมเมืองด้วยกันก็ตาม
ในส่วนของตึกราบ้านช่อง แม้แต่เพียงแค่ภายในชุมชนเมือง ภาพยังสื่อออกมาได้จัดว่า มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่มีฐานะยากจน ในขณะอีกด้านหนึ่งนั้นโดยเฉพาะถ้าจะมองไปที่ รถยนต์ และบ้านหรูๆ จำนวนมาก กลับเป็นตัวบ่งชี้ถึงฟากหนึ่งของคนรวย โดยสามารถฉายภาพออกมาได้ชัด จากปัจจัยทางวัตถุเหล่านี้
ตึกเก่าๆ ผู้คนกระจายอยู่ทั่วไป ทำให้เราไม่รู้จริงๆว่า จุดไหนบ้าง ที่เป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ กระทั่งเราได้บอกแท็กซี่ว่า จะไปที่ห้างสรรพสินค้า ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ถ้าจะบอกว่า ห้างสรรพสินค้า 4 ชั้น มีร้านอาหารเพียงสองแห่ง เป็นร้านโดนัท และร้านพิซซ่าเล็กๆ จากแบรนด์ในท้องถิ่น ที่เหลือจะเป็นร้านเสื้อผ้าและสินค้าอื่นๆทั่วไป
ผมใช้เวลาในย่างกุ้งให้คุ้มค่าด้วยการเดิน”ตลาดสก็อต “ ซึ่งเป็นตลาดการค้าใหญ่ในกรุงย่างกุ้ง ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นตลาด” โบ โช้ค” ที่นี่..น่าจะเป็นตลาดที่มีความหลากหลายมากที่สุด สองฟากฝั่งของถนนเป็นย่านการค้าทั้งหมด
3 วันภายในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า มีโอกาสได้พูดคุยกับคนทำงานบริการและนักศึกษา ประเด็นนี้น่าสนใจมาก เพราะทำให้เรารู้ว่า บุคลากรในระดับของคนหนุ่มสาว เป็นพลเมืองของประเทศที่เอาจริงเอาจังกับการศึกษาอย่างมาก เสมือนการเตรียมตัวที่ดี กับย่างก้าวต่อไปของประเทศพม่า ในการก้าวสู่เศรษฐกิจอาเซี่ยนที่กำลังจะมาเยือนในปี2558
จากมิติความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และชนชั้นทางฐานะ ดูเหมือนว่า จะไม่มีความสำคัญเท่ากับการพัฒนาด้านการศึกษาของเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพราะนั่นจะเป็นคำตอบสุดท้าย ในย่างก้าวต่อไปของประเทศพม่า