ภูตะวัน : ผู้นำตลาดส้มโชกุนเบตง ใช้หาดใหญ่เป็น“ฮับส้ม“ ศูนย์กระจายสินค้าทั่วภาคใต้
สำนักข่าวอะลามี่ : “ ภูตะวัน “ ผู้นำตลาดส้มโชกุนเบตง พัฒนาธุรกิจจากค้าส่ง ก่อนจะขยายตลาดนำส้มภาคเหนือ ใช้หาดใหญ่เป็น “ฮับส้ม “ ศูนย์กกระจายสินค้าทั่วภาคใต้ คาด ส้มโชกุนเบตง ตลอดปีมีไม่น้อยกว่า 10,000 ตัน เร่งกระจายสร้างโอกาสให้ชาวสวน
ดร.ชลธรณ์ สุมาลี เยาวพันธุ์กุล ประธานกรรมการบริหารบริษัท ภูตะวัน อินเตอร์เนชั่ลแนล เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวถึงเส้นทางธุรกิจส้มโชกุนเบตง ว่า ก่อนหน้านี้ตลาดและผู้บริโภคจะรู้จักเฉพาะส้มโชกุนยะลา เนื่องจากศูนย์กระจายสินค้ามาจากยะลา ทั้งๆที่ ส้มโชกุนมีแหล่งผลิตจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ต่อมาในปี 47 หลังจากที่เข้ามาช่วยครอบครัวสามี ซึ่งเป็นชาวเบตง ทำตลาดส้มโชกุน จึงมีไอเดียว่า จะสร้างแบรนด์ส้มโชกุน ซึ่งมีแหล่งผลิตที่เบตงให้ตลาดรู้จัก จึงได้ขยายตลาดและคุยกับคู่ค้าในตลาดกิมหยงหาดใหญ่ ว่า ถ้าจะรับส้มจากตนไปจำหน่ายขอให้ปักป้ายส้มโชกุนเบตง
“ หลังจากลูกค้าได้ชิมส้มโชกุนเบตงแล้วติดใจในรสชาติ จากนั้นป้ายส้มโชกุนเบตง ก็เริ่มมีคนมารู้จักมากขึ้น จนถึงขณะนี้เราอยู่ในวงการส้มโชกุนเบตงมานานกว่า 20 กว่าปี “
ดร.ชลธรณ์ กล่าวถึงรสชาติของส้มโชกุนเบตง ว่า ด้วยภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ที่เป็นพื้นที่ล้อมด้วยภูเขา ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับอากาศที่ดี ทำให้ผลผลิตผลไม้ มีรสชาดที่เป็นเอกลักษณ์ หวานจิกเปรี้ยวนิดนึง กินแล้วติดลิ้น กากนิ่ม สามารถกินกากได้ จนทำให้เป็นเอกลักษณ์เด่านของส้มโชกุนเบตง
อย่างไรก็ตาม การผลิตส้มโชกุนเริ่มลดน้อยลง อันเนื่องจากการลดพื้นที่เปลี่ยนการเพาะปลูก จากเดิมมีพื้นที่ในการปลูกส้มนับเป็นหมื่นไร่ แต่ปัจจุบันคาดว่ามีพื้นที่ในการปลูกส้มโชกุนเบตงประมาณสองพันไร่ ทำให้ผลผลิตมีในตลาดมีน้อย จึงเป็นช่วงจังหวะที่เราสามารถทำราคาให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนได้ แต่ก็ต้องดูผู้บริโภคสามารถรับด้วย
ดร.ชลธรณ์ กล่าวว่า สำหรับผลผลิตส้มโชกุนเบตง โดยรวมต่อรอบโดยเฉพาะส้มในฤดู(ประมาณปลายปี) อยู่ที่ 5-6,000 พันตันต่อรอบ นอกจากนี้ยังมีส้มนอกฤดูอีกประมาณ 3,000 ตัน รวมๆต่อปีประมาณ 10,000 ตัน
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ส้มโชกุน มีเพียงพอต่อความต้องการตลาด ขณะนี้เราได้ขยายฐานการปลูกส้มโชกุนไปยังพื้นที่อื่นๆทั่วประเทศ อาทิเช่น จังหวัดตรัง ชัยภูมิ กำแพงเพชร แม่สรวย จังหวัดเชียงราย เริ่มไปปลูกในหลายจังหวัดทางเหนือแล้ว แต่มันจะไม่โดดเด่นในด้านรสชาติเหมือนกับส้มโชกุนเบตง ทั้งนี้อยู่ที่สภาพอากาศ และสภาพดิน
“ เมื่อผลผลิตออกสู่ท้องตลาด เราจะต้องบอกกับลูกค้าตามความเป็นจริงว่า ส้มนี้มาจากแหล่งปลูกที่ไหน เช่น ถ้าเป็นสัมโชกุนเบตง ก็จะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาอยู่แล้ว ให้ลูกค้าได้เลือกและตัดสินใจเอง ”
ทั้งนี้ได้กำชับกับผู้ค้าว่าให้ปักป้ายส้มถึงแหล่งที่มาให้ชัดเจนว่าเป็นส้มผลผลิตจากที่ใด เพราะมิฉะนั้นจะทำให้เกิดผลกับทบกับส้มโชกุนเบตงแท้ๆ เพราะว่ารสชาติมันจะต่างกัน ดังนั้นจะขายในราคาแพงเหมือนส้มโชกุนเบตงไม่ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการให้เกียรติแหล่งผลิตและชาวสวนด้วย
ดร.ชลธรณ์ กล่าวว่า แบรนด์ภูตะวัน เราเน้นความซื่อสัตย์ เราจะขายตามราคากลไกของตลาด เราจะไม่มีการกักตุนของเพื่อโก่งราคา สำหรับลูกค้าที่รับซื้อของเราไป เราจะให้คำปรึกษาตลอดการขาย โดยนึกถึงใจเขา-ใจเรา คนเอาไปขายก็ควรได้กำไร ผู้บริโภคก็ต้องได้รับประทานส้มราคาเหมาะสมกับคุณภาพ ทั้งนี้เรายึดตามสโลแกนที่ว่า คุณภาพคู่คุณธรรม
สำหรับความก้าวหน้าในการทำธุรกิจขฯนี้เราได้พัฒนาสายพันธ์ ส้มโชกุนไร้เมล็ด ซึ่งขณะนี้เริ่มปลูกและลงแปลงไว้บ้างแล้วน่าจะไม่เกิน 2-3 ปี เราก็จะได้รับประทานส้มโชกุนไร้เมล็ด ภายใต้แบรนด์ “ภูตะวัน” อย่างแน่นอน
นอกจากนี้เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด เราได้นำส้มจากภาคเหนือลงมากระจายในพื้นที่ โดย ใช้ หาดใหญ่ เป็นฮับ ก่อนจะกระจายสิ่งทั้งจากเบตง และจากภาคเหนือไปพื้นที่อื่นๆ โดยเรามีจุดคัดแยกที่หาดใหญ่ ซึ่งดำเนินการกระจายภายใต้แบรนด์ ส้มภูตะวัน ก่อนจะกระจายทั่วภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทย
“ เราคาดหวังว่าหน่วยงาน หรือภาคองค์กรธุรกิจจะสนับสนุนชาวสวน เนื่องจาก ส้มโชกุนเบตง นั้นนับเป็นผลไม้ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลา จึงอยากให้ช่วยกันสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนอยู่ได้ อีกทั้งยังสามารถช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากได้จริงๆอีกด้วย” ดร.ชลธรณ์ กล่าว