Inside Asia
Home   /   Inside Asia  /   จับตา อิหร่าน หลังเลือกตั้งประธานนาธิยดีคนใหม่

จับตา "อิหร่าน " หลังการเลือกตัั้งประธานาธิบดีคนใหม่



        โดย  ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน

         ศูนย์อิหร่านศึกษาและภาษาเปอร์เซีย  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

             สำนักข่าวอะลามี่ :  ทันทีที่รายงานผลการนับคะแนนครั้งสุดท้ายในการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน เมื่อวันศุกร์ที่19 พ.ค.ที่ผ่านมาชี้ว่า ประธานาธิบดีของอิหร่านคนต่อไปคือ ดร.ฮัสซัน รูฮานี ผู้นำอิหร่านคนปัจจุบัน เขาจะได้ครองตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านเป็นสมัยที่สองอย่างแน่นอน

              ทางการเผยว่ามีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 40 ล้านคน คิดเป็น 70% ของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด ซึ่งถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีการขยายเวลาลงคะแนนเสียงตามปกติออกไปอีก 5 ชั่วโมง จนถึงเที่ยงคืนตามเวลาท้องถิ่น โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นการขยายเวลาตามคำขอของประชาชน ซึ่งต่างก็กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง

             เมื่อวันที่ 20 พ.ค. บีบีซีรายงานว่า ประธานาธิบดีอัสซัน รูฮานี ผู้นำสายปฏิรูปของอิหร่าน ชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งใหม่ เพื่อดำรงตำแหน่งสมัยสอง มีคะแนนเหนือ นายอิบรอฮิม รออีซี วัย 56 ปี คะแนนร้อยละ 56.8 ต่อ 38.5 หรือ 22.7 ล้านเสียงต่อ 15.4 ล้านเสียง ไม่จำเป็นต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง

              ดร. ฮัสซัน รูฮานี วัย 68 ปี ให้คำมั่นในการหาเสียงเลือกตั้งว่าจะดำเนินนโยบายสายกลาง เขา เป็นผู้แทนจากพรรคเอ็มดีพี หรือพรรคสายกลางและการพัฒนา ที่มีนโยบาย ในการเพียรพยายามดึงอิหร่านให้หลุดพ้นจากการคว่ำบาตรของนานาชาติ จะเห็นได้จากผลงานจากการเจรจาเรื่องนิวเคลียร์กับสหรัฐในปี 2015 ที่อิหร่านต้องยับยั้งโครงการนิวเคลียร์เพื่อสันติเพื่อแลกกับการยกเลิกการคว้ำบาตจากนานาชาติ

            นับตั้งแต่ที่ ดร.ฮัสซัน รูฮานีชนะการเลือกตั้งสมัยแรกด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายเมื่อปี 2013 เขาได้ดำเนินนโยบายเปิดประเทศสู่โลกภายนอก เน้นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ ด้วยการสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ รวมทั้งสนับสนุนสิทธิสตรี โดยผลงานสำคัญของนายโรฮานี คือ ข้อตกลงอาวุธนิวเคลียร์ที่อิหร่านร่วมลงนามกับสหรัฐฯ และประเทศมหาอำนาจตะวันตก ซึ่งส่งผลให้เกิดการระงับมาตรการคว่ำบาตรทางการค้าต่ออิหร่าน

              การเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงพลังประชาชนและความเป็นประชาธิปไตยอย่างน่าชื่นชม และยังตบหน้าประเทศตะวันตกที่อ้างถึงหลักประชาธิปไตยหรือหลักสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่พยายามจะโฆษณาชวนเชื่อให้ชาวโลกมองอิหร่านว่า เป็นประเทศเผด็จการ ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย  ดังนั้นอีกครั้งประชาชนชาวอิหร่านได้พิสูจน์ถึงความเป็นประชาธิปไตยบนเส้นทางของรัฐในระบอบอิสลาม ภายใต้  “รัฐปราชญาธิปไตย”

               ดร. แอฟราม โนม ชอมสกี นักวิเคราะห์และนักทฤษฎีชาวอเมริกัน กล่าวว่า :  ผู้ชนะที่แท้จริงของการเลือกตั้งในอิหร่านคือ " อายะตุลลอฮ์ คอเมเนอี"  และในความเป็นจริงแล้ว ชาวตะวันตกถูกทำให้ต่ำต้อย ณ เบื้องหน้าของอายะตุลลอฮ์คอเมเนอี

                 โนม ชอมสกี นักทฤษฎีและนักวิเคราะห์ชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงได้กล่าวในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของอิหร่านว่า : ผู้ที่ได้รับชัยชนะที่แท้จริงก็คือผู้นำของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน

                 เขากล่าวว่า : อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี เป็นบุคคลที่ฉลาดที่สุดและเป็นนักการเมืองที่เยี่ยมที่สุดในโลก ที่ทำให้แม้แต่บรรดาศัตรูที่ใหญ่ที่สุดของประเทศของตน ก็ต้องโฆษณารณรงค์ให้ประชาชนของเขาออกปรากฏตัวในสนามการเลือกตั้ง

                เขากล่าวเสริมว่า : เมื่อมีการเข้าร่วม (การเลือกตั้ง) ในระดับสูง ผู้ชนะที่แท้จริงของโลกก็คือ  "อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี" ไม่ใช่ชาวตะวันตก วันนี้บรรดานักการเมืองของโลก ด้วยกับการยืนยันถึงความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงในอิหร่าน พวกเขาได้แสดงให้เห็นความต่ำต้อยของตนเองเบื้องหน้า อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี (ที่มา : fa.alalam อ้างจาก iribnews แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ)

                มาร์ค เคร็น ผู้เชี่ยวชาญและนักวิเคราะห์การเมืองชื่อดังชาวอเมริกัน กล่าวว่า “การเลือกตั้งอิหร่านในครั้งนี้  ประชาชนคือผู้ชนะอย่างแน่จริง เนื่องจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งได้มาลงคะแนนกันอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์  พวกเขา(ประชาชนชาวอิหร่าน)ได้สร้างภาพลักษณ์ที่เป็นบวกในสายตาของชาวโลก  พวกเขา(ประชาชนชาวอิหร่าน)ได้ร่วมกับเผชิญหน้าและหยุดยั้งการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆจากศัตรูที่พยายามทำลายภาพลักษณ์ของประเทศอิหร่าน ซึ่งเริ่มตั้งแต่หลังการปฏิวัติอิสามสำเร็จในปี 1979” (Press TV http://217.218.68/Detail/2017/05/19/Iran -elections-voter-turnout)

               หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ ก็ได้สะท้อนคำพูดของผู้นำสูงสุดของการปฏิวัติอิสลาม โดยเขียนว่า : "ผู้นำสูงสุดอิหร่านแสดงความพึงพอใจต่อบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของการเลือกตั้งในอิหร่าน โดยกล่าวว่า ในสภาพแวดล้อมที่ไร้ความสงบที่ปกคลุมอยู่ในภูมิภาค สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านจะจัดให้มีการเลือกตั้งด้วยความสงบและความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์"

               สำนักข่าวเอพี ได้ทำการสะท้อนข่าวนี้ในรายงานชื่อ "ผู้นำอิหร่านเน้นย้ำถึงการเข้าร่วมอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งประธานาธิบดี" และเขียนว่า : "ผู้นำอิหร่านได้ย้ำให้ประชาชนเข้าร่วมอย่างกว้างขวางในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมาถึงในวันศุกร์ และเรียกร้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งส่งสาส์นของตนไปยังสหรัฐอเมริกา"

               และนี่คืออีกครั้งหนึ่งที่สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้พิสูจน์ให้ชาวโลกประจักษ์ถึงการปกครองในระบอบอิสลาม แบบรัฐปราชญาธิปไตย โดยบอกผ่านวิถีการเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมประชาชนอย่างไร้เผด็จการ  แต่ทว่าสะท้อนถึงความเข้มแข็งของความเป็นประชาธิปไตยในอีกมุมหนึ่ง