Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   รายงานพิเศษ: จับตาข้อพิพาท”กอท.-ซี.พี.”กับผลประโยชน์ฮาลาล

รายงานพิเศษ : จับตาข้อพิพาท”กอท.-ซี.พี.”กับผลประโยชน์ฮาลาล

โดย : จันทร์เสี้ยว บางนรา

             สำนักข่าวอะลามี่ : ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายฮาลาลของ บริษัทยักษ์ใหญ่ ซี.พี.กำลังถูกจับตาจากสังคมว่า จะจบอย่างไร แต่ที่สำคัญ ถูกตั้งคำถามถึง”มาตรฐาน”ของการรับรองฮาลาล ว่ามีมาตรฐานแค่ไหน....

             ปัจจุบันคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย มีตัวแทนจากระดับจังหวัดทั้งหมด 39 คน โดยในจำนวนนี้ 1ใน 3 หรือ 13 คน เป็นโควตาของจุฬาราชมนตรี ตามกฎหมายกำหนด รวมทั้งหมด 52 คน รวมจุราชมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย โดยตำแหน่ง อีก 1 รวมทั้งสิ้น  53 คน

               หากจะย้อนกลับไปดูโครงสร้างการทำงานพบว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมการกลางได้วางโครงสร้างโดยแบ่งออกเป็นฝ่ายต่างๆประมาณ 13ฝ่าย แต่ดูเหมือนว่า แต่ละฝ่ายมีแค่ตำแหน่งแต่ไม่เคยเห็นผลงาน หรือโครงการที่นำเสนอต่อสาธารณะชนที่เป็นรูปธรรม

               ขณะที่ฝ่ายที่มีการพูดถึงมากที่สุดคือฝ่ายฮาลาล ที่มีบทบาทสำคัญเนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับรายได้ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยประมาณการรายได้ร่วม 50ล้านบาท/ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น

              คนวงในระบุว่า รายได้ของคณะกรรมการกลางมาจากส่วนต่างๆประกอบด้วย รายได้จากการรับรองเครื่องหมายฮาลายปีละประมาณ 15 ล้านบาท รายได้จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ปีละประมาณ 10 ล้านบาท รายได้จากค่าพาหะนะอีกราว 5 ล้านบาท และที่สำคัญรายได้จากการเป็นที่ปรึกษาอีกราว 25 ล้านบาท ซึ่งถือว่า เป็นรายได้เกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด

              มีการตั้งคำถามว่า งบประมาณจำนวนมาก นำไปใช้อะไรด้านไหนบ้าง..!!!!

           ล่าสุดกรณีที่ที่ฝ่ายตรวจสอบฮาลาล ฯของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตรวจสอบพบสินค้าเครื่องหมาย ซี.พี.ไม่ได้รับอนุญาตเครื่องหมายฮาลาล 6 รายการ ประกอบด้วย ไก่ย่างเทอร์ริยากิ ไก่นิวออลินส์  ไก่ย่างเกาหลี ไก่อบบาบีคิว ไก่ย่างพร้อมน้ำจิ้มแจ่ว และ ไก่ย่างซอสญี่ปุ่น

             เรื่องนี้ถูกจับตาจากสังคมว่าเกิดอะไรขึ้น

             ทำไมข้อมูลจึงสับสน  เพราะผู้ประกอบการอ้างว่า ได้ขออนุญาตไปยังคณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร บอกว่า ขออนุญาตถูกต้อง แต่ทำไม ฝ่ายฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย บอกว่า ไม่มี

            เรื่องนี้จึงต้องตั้งคำถามต่อว่า...เกิดอะไรขึ้น…..!!!

            รัศมี ดำชะไว รองเลขาธิการคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ในฐานะรองประธานฝ่ายฮาลาลฯ บอกว่า เรื่องนี้ได้ทำความเข้าใจกับคณะกรรมการอิสลามกรุงเทพมหานครแล้ว ว่า คณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย ไม่มีนโยบายการการออกอนุญาตฮาลาลกลุ่มสินค้า ซึ่ง ทางฝ่ายฮาลาลกรุงเทพมหานครฯยอมรับว่า ทำไปตามที่เคยขออนุญาตก่อนหน้านี้  

             “ หลังจากมีเรื่องนี้เกิดขึ้น เราได้สั่งให้กรรมการอิสลามฯทุกจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ออกหนังสือเวียนไปยังผู้ประกอบการว่าไม่อนุญาตขอเครื่องหมายฮาลาล เป็นกลุ่มสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการใดที่ยื่นขอไปแล้วให้มายื่นขอใหม่ทั้งหมด ซึ่งหลายโรงงานก็ทราบเรื่องนี้แล้ว”

             รัศมี กล่าวว่า ในส่วนของบิษัท ซี.พี.ที่ละเมิดเครื่องหมายฮาลาล นั้น หลังจากได้เจรจากันรอบแรกที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จึงนัดมาหารืออีกรอบภายในสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีการเจรจา เพียงแต่มีการส่งสัญญาณว่ามาเจรจาในเร็วๆนี้

              “เรื่องนี้เราต้องยึดหลักการทำงาน เพราะสังคมเฝ้ามองเราอยู่ กรณีนี้เราไม่อยากนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศ่าล เพราะ ซี.พี.ก็เป็นองค์กรที่ทำประโยชน์สังคมมากมาย รวมถึงเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ เราอยากให้จบที่เจราจาและให้มาขออนุญาตใหม่ให้ถูกต้อง” รัศมี กล่าว

                แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกลางฯ เปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่สองฝ่ายต้องเจรจาเพื่อหาข้อยุติ เพราะเรื่องนี้ไม่สามารถให้ยืดเยื้อ ทั้งนี้วงในคุยกัยว่า หากมีการเจรจาและหากมีการปรับจริงต้องไปดูว่า สินค้ารายการที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เริ่มผลิตตั้งแต่เมื่อไหร่ ซึ่ง จากการตรวจสอบพบว่าเริ่มตั้งแต่ปี2544 และต้องดูว่าเขาได้ประโยชน์จากการนำเครื่องหมายฮาลาลไปติดในสินค้า มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เขาชดเชยค่าปรับ เพื่อนำเงินดังกล่าวไปช่วยสาธารณะกุศลต่อไป

              “ ตัวเลขไม่ยืนยัน แต่เท่าที่คุยกัน น่าจะมีค่าปรับตัวเลขมากพอสมควร หรือ อาจถึงตัวเลข 8 หลัก ซึ่งเรื่องนี้ต้องรอการเจรจากับซี.พี.อีกครั้ง” แหล่งข่าวกล่าว

                ขณะที่ นักวิชาการมุสลิมท่านหนึ่ง กล่าวว่า ปัญหาฮาลาลของไทยที่ผ่านมาขาดการรับรองฮาลาลที่เป็นระบบ และได้มาตรฐาน (หน่วยงานทำงานทับซ้อนกัน) อีกทั้งยังขาดความเป็นเอกภาพในมาตรฐานฮาลาล ( มีหลายมาตรฐานฮาลาลในประเทศไทย) และยังขาดบุคลากรมุสลิม ขาดผู้ผลิตอาหารที่เป็นมุสลิม ฯลฯ

               ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง สร้างทัศนคติและจิตสำนึก เรื่องฮาลาล ต่อผู้เกี่ยวข้องในทุกส่วน และจะต้องวางระบบการรับรองฮาลาล ที่มีประสิทธิภาพ

               “สำหรับเรื่องการการละเมิดลิขสิทธิ์เครื่องหมายฮาลาลของซี.พี.เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบภายในว่าถ้าผิดจริงทำไมปล่อยให้เรื่องนี้ยืดเยื้อมานาน โดยเฉพาะฝ่ายฮาลาลกรุงเทพมหานคร ต้องออกมาแสดงบทบาทว่า อนุญาตไปได้อย่างไร เพราะเท่าที่ทราบมีการขออนุญาตทุกปี และมีที่ปรึกษาประจำโรงงานด้วย ทำไมมาตรฐานการอนุญาตของกรรมการกลางฯกับกรุงเทพมหานครไม่มีมาตรฐานเดียวกัน”

                 แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการซี.พี.บอกว่า เบื้องต้นได้รับทราบตัวเลขที่ฝ่ายฮาลาลคณะกรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ยื่นมาเบื้องต้นแล้ว พบว่าตัวเลขสูงอย่างน่าตกใจ แต่ไม่สามรารถยอดตัวเลขได้ ทั้งนี้ยืนยันว่า ที่ผ่านมา ซี.พี.ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายฮาลาลมาดดยตลอด ซึ่งการออกผลิตภัณฑ์ก็เป็นไปตามการขออนุญาต หากผิดทำไม ผู้ให้อนุญาติกล่าวมาตักเตือน บริษัทฯจะได้ดำเนินการทำให้ถูกต้อง

               “เท่าที่รู้หลายผลิตภัณฑ์ก็มีการขอในลักษณะเช่นนี้ เหมือนกัน เราเป็นบริษัทใหญ่ ผู้ส่งออกรายใหญ่ ถ้าผิดกฎหมาย หรือ หากละเมิดสิทธิ์ คงไม่ทำ เพราะจะเสียภาพลักษณ์ของบริษัทฯ” แหล่งข่าวระบุ