Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   นักธุรกิจตอบรับไอแบงก์สถาบันการเงินทางเลือกสังคม

นักธุรกิจชี้ไอแบงก์สถาบันการเงินทางเลือก

               สำนักข่าวอะลามี่ : นักธุรกิจรุ่นใหม่วิพากษ์บทบาทไอแบงก์ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนธุรกิจสู่การเป็นผู้นำธุรกิจในสังคม

              ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวในเวที 9 ปี เปลื่ยนเพื่อคุณ ของไอแบงก์ ในโอกาสครบรอบ 9 ปี ย่างขึ้นสู่ปีที่10 ว่า ไอแบงก์เป็นทุนนิยม ที่ยึดในหลักการ มี หลักธรรม สนับสนุนให้การบริหาร อย่างมีธรรมมาภิบาล ส่งผลให้ธนาคารอิสลามเป็นธนาคารทางเลือก ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด

              อย่างไรก็ตามแบงก์ควรให้ความสำคัญกับsme เพราะเป็นฐานรากการเงิน อีกทั้ง smeส่วนมาก ยังเข้าไม่ถึงการเงิน  เชื่อว่า ไอแบงก์จะทำหน้าที่นี้ได้ดี โดยเฉพาะในเวทีประชาคมอาเซี่ยน การมีธนาคารอิสลาม จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน และสนับสนุนการเงินในเวทีอาเซี่ยน

              “ ธนาคารอิสลามเป็นส่วนสำคัญให้ 3จังหวัดชายแดนใต้ดีขึ้น เพราะเชื่อว่า หากคนในพื้นที่มีเศรษฐกิจที่ดี จะช่วยให้สถานการณ์ชายแดนใต้ดีขึ้น ทั้งนี้ที่ผ่านมาจะเห็นว่า การทำงานของไอแบงก์ ไม่ได้ทำเพื่อแบงก์ แต่เพื่อประเทศ” ดร.อนุสรณ์ กล่าวและว่า

               ทั้งนี้รัฐบาลและภาคส่วนอื่นๆจะปล่อยให้คน3จังหวัด ตกงานไม่ได้ ในขณะที่ไม่มีใครกล้าปล่อยสินเชื่อ แต่ไอแบงก์ ได้ทำหน้าที่นี้มาอย่างต่อเนื่อง

                ดร.อนุสรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์หนี้ยุโรปว่า แนวคิดแบบการเงินอิสลาม และทุนแบบสายกลาง น่าจะทำให้วิกฤติเศรษฐกิจลดลง ผลกระทบหนี้ยุโรป คาดว่า จะไม่กระทบไอแบงก์โดยตรง ถ้ากระทบบ้างก็เกิดจากเศรษฐกิจทั้งระบบมากกว่า

               อย่างไรก็ตาม ดร.อนุสรณ์ ยังได้ฝากข้อคิดกับผู้ประกอบการว่า จะต้องเป็นผู้ที่รู้จริง ต้องศึกษากระบวนการมองให้ทะลุ เพื่อนำธุรกิจสู่การแข่งขันได้

        

      นายสงกรานต์ อิสสระ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์  ในฐานะลูกค้าคนสำคัญของไอแบงก์ กล่าวว่า เดิมเป็นคนปัตตานีมีฐานธุรกิจในปัตตานี มีธุรกิจมน้ำมัน ก่อนจะมาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพ และต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองท่องเที่ยว

               “การมาเป็นลูกค้าไอแบงก์ รู้จักคุณ ธีรศักดิ์ สวรรณยศ กรรมการผู้จัดการอแบงก์เป็นการส่วนตัว มาก่อน ก่อนจะมาเป็นลูกค้า  ซี่งจากการเป็นลูกค้าของไอแบงก์พบว่า แบงก์ดีไม่จำเป็นต้องแบงก์ใหญ่เสมอไป” นายสงกรานต์ กล่าวและว่า

               การเข้ามาของประชาคมอาเซี่ยน ในฐานะที่เป็นนักธุรกิจด้านอสังหาฯ อยากเสนอให้ปรับสัญญาเช่าจาก 30 ปี เป็น 60 ปี เนื่องจากเศรษฐกิจขยายตัว เชื่อว่า เปิดโอกาสการลงทุนมากขึ้น

                ด้าน นายสามารถ บุญธราทิพย์ ประธานกรรมการ บจ.โปลิเคม อินเตอร์กรุ๊ป (ประเทศไทย) จากัด กล่าวว่า ในวันนี้จำนำเสนอใน 2 สถานะคือในฐานะคนมุสลิม และในฐานะลูกหนี้

                “ธุรกิจของผมเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งไอแบงก์ จะพิจารณาเรื่องโอกาสการลงทุนมากกว่าเรื่องหลักทรัพย์ ทำให้ผมมีโอกาส จากเดิมจึงค่อยๆขยายกิจการ ปัจจุบันมีทั้งหมด 71 สาขาทั่วประเทศ จากนั้นก็มาลงทุนทำธุรกิจโรงแรมฮาลาล”

                นายสามารถ กล่าวอีกว่า ความจริงเรื่องภูมิปัญญามุสลิมทุกคนมี แต่ขาดที่พึ่งทางการเงิน เพราะที่ผ่านมามุสลิมจำนวนไม่น้อยไม่รู้จักคำว่าแบรนด์ แต่รู้จักคำว่า ฮาลาล ดังนั้นจึงอยากให้ธนาคารเดินเข้าเข้าไปหาลูกค้า เนื่องจากชาวบ้านเขียนโครงการไม่เป็น

               “อีก3 ปีข้างหน้า มุสลิม จะเข้ามามากถึง 300ล้านคน จากเดิมที่มีในระเทศแค่10 ล้านคน หากคนมุสลิมหันมาทำธุรกิจมากขึ้น จะช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศได้ ” นายสามารถกล่าว.

                นาย อิบรอเฮ็ง เจะอาลี กรรมการผู้จัดการ บจ.ดีอาร์เอส ดีเวลลอปเมนท์ กล่าวว่า บริษัทของบตนดำเนินธุรกิจในกลุ่มหลายรายการ  ด้วยความเป็นคนปัตตานี และการเดินทางไปหลายประเทศทั่วโลก จะพบว่าปัตตานีมีกลิ่นอายที่ทั่วโลกไม่มี อีกทั้ง ปัตตานี ยังเป็นเกตเวย์ สู่ประชาคมอาเซี่ยน

            

   “ที่ผ่านมาบริษัทลงทุนมา3 ปี โดยไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาช่วยเพราะสถาบันการเงินมองว่าเป็นพื้นที่เสี่ยง ปัจจุบัน เรากำลังสร้างมินิมอลล์ สวยที่สุดในปัตตานี สามารถสร้างงานได้มากถึง 300คน ”นาย อิบรอเฮ็ง กล่าวและว่า

               ในข้อจำกัดของนักลงทุนชายแดนใต้หลายคนไม่รู้ โดยเฉพาะเรื่อง พรก.ฉุกเฉิน พื้นที่ใดที่มีพรก.ฉุกเฉิน สถาบันการเงินจะไม่ปล่อยกู้ นี่คือข้อจำกัดของการลงทุนในชายแดนใต้"

              “ ผมได้จากไอแบงก์ไม่ใช่แค่สินเชื่อเท่านั้น แต่การมีส่วนร่วมของแบงก์ ที่ชี้แนะให้เรา บางครั้งเราเองคิดไม่ถึง ต้องขอบคุณไอแบงก์ ที่ให้โอกาส ”  นาย อิบรอเฮ็ง กล่าว.