ชาวระโนดพลิกนากุ้งร้างกว่าแสนไร่ทำนาข้าว
สำนักข่าวอะลามี่: ชาวนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุยปลูก “ข้าว” มูลเหตุจูงใจโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ขณะชาวอำเภอระโนด จ.สงขลา เริ่มปฏิรูปนากุ้งกุลาดำร้างกว่าแสนไร่มาทำนาข้าว พร้อมตั้งลงทุนโครงการ“ท่าข้าว” มูลค่า 400-500 ล้านบาท
นายไสว สุวรรณพยัคฆ์ สมาชิกสมาคมโรงสีข้าวภาคใต้ และ เจ้าของโรงสีข้าวจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ขณะเริ่มเข้าฤดูกาลทำนาปี โดยปีนี้ทำช้ากว่า 2 เดือน เนื่องจากทางธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้สามารถไปเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกรกฎาคม เป็นเดือนที่จะสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลพอดี “ปัจจัยที่ล่าช้าเพราะเกิดภาวะน้ำท่วมซ้ำซากหลายครั้งในพื้นที่
“ในปีนี้ข้าวหดหายไปครึ่งต่อครึ่งในรอบแรก เก็บได้ประมาณ 7,000 ตัน จากปกติที่สามารถผลิตได้ประมาณ 30,000 ตัน ในปีนี้ คาดว่าหากฝนไม่ตกและเกิดน้ำท่วม น่าจะได้ปริมาณมาก เพราะขณะนี้ชาวนาทำนาเต็มพื้นที่ ที่ชลประทานเข้าถึง ประมาณ 300,000 ไร่ ข้าวในพื้นที่จังหวัดพัทลุงตกเกวียนละประมาณ 6,000 – 7,000 บาทเท่านั้น แต่โครงการของรัฐบาลรับจำนำ 14,600 บาท”
นายไสว กล่าวอีก ในส่วนของภาคใต้ พัทลุง สงขลา และ นครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ปลูกข้าวรายใหญ่สุด ประมาณ 1 ล้านไร่ ประมาณ 1 ล้านตัน แต่หากเทียบกับภาคอีสาน ภาคกลางแล้ว ที่ปลูกข้าวอย่างขนาดใหญ่ 3 จังหวัดดังกล่าว เท่ากับ 1 จังหวัดภาคกลาง ภาคอีสานเท่านั้นเอง
“ข้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ก็ราคาดีทุกตัว ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของจังหวัดรวมไปถึงปศุสัตว์ด้วยต่างราคาดี ยกเว้นสุกร ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดลุ่มน้ำทะเลสาบ ขยายตัวเติบโตตามไปด้วยเป็นอย่างมาก”
นางวาสนา ไพจิตร เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมปุ๋ยอินทรีย์ ตรา 5 ดาว เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เขียนโครงการทำท่าข้าว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นศูนย์ท่าข้าวรับซื้อข้าวจากชาวนาในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด ซึ่งสามารถรับซื้อข้าวเก็บไว้ได้ โดยใช้พื้นที่เบื้องต้นประมาณ 10 – 20 ไร่ ถัดไปก็จะขยายเนื้อที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ
โดยเบื้องต้นจะต้องใช้เงินทุนในการลงทุนทั้งพื้นทีและอุปกรณ์ครบวงจร และเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อข้าว ประมาณ 400 – 500 ล้านบาท โดยจะตั้งท่าข้าวพื้นที่ที่เป็นจุดศูนย์กลางข้าว ระหว่าง จงพัทลุง สงขลา และ จ. นครศรีธรรมราช อ.ระโนด จ.สงขลา
“ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดขลา จากนาร้าง และบ่อกุ้งกุลาดำ ที่รกร้างอยู่ประมาณ 10,000 ไร่ ได้ริเริ่มพัฒนามาเป็นนาข้าวกันบ้างแล้ว นอกจากที่หันไปปลูกปาล์มน้ำมัน และไม้ใผ่”