“ศอ.บต.”เร่งทำแผนดับไฟใต้ รับกำแพงกั้นเข้าไม่ถึงชุมชน
สำนักข่าวอะลามี่: ศอบต.เร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ รับมีกำแพงเข้าถึงมวลชน ส่งผลให้ประชาชนรู้สึกไม่มั่นใจในความเป็นธรรมจากรัฐ พร้อมเร่งแก้ปัญหาจัดการศึกษาใหม่ หลังพบว่าไม่สอดคล้องท้องถิ่น
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวบรรยายพิเศษในหัวข้อแนวคิดและแนวทางในการเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนใต้ทีมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมฟัง และแลกปเลี่ยนความเห็นร่วม100 คน
พ.ต.อ.ทวี กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ชายแดนใต้ ต้องมีความชัดเจน หลายเรื่องต้องนำมาทบทวนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับใช้กฎหมายและต้องดูว่าเจตนาการออกกฎหมายเพื่ออะไร สอดคล้องกันหรือไม่ โดยเฉพาะ พรก.ฉุกเฉิน ฯเจตนาเพื่ออะไร
“ ที่ผ่านมาใช้อำนาจตามพรก.ฉุกเฉินฯจับกุม แล้วสุดท้ายศาลพิพากษาปล่อยตัว ทั้งนี้พบว่าผู้ต้องหา 18%ศาลลงโทษ อีก 78% ศาลยกฟ้อง ทั้งหมดต้องดูว่าสอดคล้องกันหรือไม่”
พ.ต.อ.ทวี กล่าวยอมรับว่า ที่ผ่านมามีกำแพงบางอย่างที่เข้าไม่ถึงประชาชน ขณะที่รัฐบอกว่าจะคืนความเป็นธรรม แต่ชาวบ้านกลับรู้ว่าสึกไม่เป็นธรรม และไม่มั่นใจในความปลอดภัย ปัญหาเหล่านี้จึงต้องอาศัยคนในพื้นที่ในการแก้ปัญหา ไมใช่คนนอก
“ผมคุยกับ ดร.พีระยศ ราฮิมมูลา เขาบอกว่าจากการเก็บข้อมูลสำรวจพบว่าคนมลายูปัตตานี ที่มีความรู้ระดับดร. มากว่า 80คนแต่คนเหล่านี้อยู่ต่างประเทศ ซึ่งในความรู้สึกผมปัตตานีมีคนเก่งมาก ดังนั้นเรื่อง3จังหวัดต้องให้คน3จังหวัดแก้ถูกปรกติ” พ.ต.อ.ทวี กล่าวและว่า
ที่ผ่านมางบประมาณที่ลงไปในพื้นที่ เกือบ2หมื่นล้านบาท ถูกกระจัดกระจาบไปตามหน่วยงานกระทรวงต่างๆ แต่ก็อดตั้งคำถามว่า งบเหล่านั้นเอาไปทำอะไร แต่ละกระทรวงทำอะไร โครงการนิคมอุตสาหกรรมฮาลาล ที่ปัตตานี จนถึงขณะนี้ยังเกิดไม่ได้ ขณะที่ความร่วมมือต่างประเทศ ในโครงการ IMTGTซึ่งมีสมาชิกจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เราน่าจะสร้างจุดแข็งภาคผลิตอาหารฮาลาล ก่อนที่โครงการประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน จะมาถึงในปีไม่กี่ปีข่างหน้านี้ ประชากรกว่า300ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของประชกรพูดภาษามลายู พูดภาษาเดียววัน
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กล่าวอีกว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นนั้น จะต้องปกป้องคุ้มครองประชาชนได้รับความปลอดภัย เสริมสร้างสันติสุขชุมชนและหมู่บ้านให้ได้ โดยมีผู้นำท้องถิ่นมาช่วยดูแล เพราะไม่มีใครรู้ดีกว่าคนในพื้นที่ ดังนั้นต้องให้คนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเป็นหลักและมีคนนอกพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ
ล่าสุด ศอบต.ได้ตั้งบประมาณเพื่อเสนอต่อ ครม.ของบสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน เช่น จัดสรรงบประมาณให้ตำบลละ 3ล้าน เพื่อดำเนินการปราบปรามยาเสพติด และไม่ให้เกิดการว่างงาน ส่วนการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม อัตลักษณ์ และประวัติศาสตร์นั้นที่จะต้องมีการส่งเสริมควบคู่ด้วย
"ขณะนี้พบว่าครูสอนศาสนาบางคนถูกผลักให้ไปอยู่ในที่มืด จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้คนในที่มืดได้มีเวทีสื่อสาร นำเรื่องราวดีๆสู่สังคมภายนอก รวมทั้งการเยียวยาและการฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ต้องมีความเป็นธรรม “
พ.ต.อ.ทวี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะต้องจัดระบบการศึกษาใหม่ เนื่องจากปัจจุบันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม เพราะคนในจังหวัดชายแดนใต้ ต้องเรียนหลักศาสนา แต่รัฐจะให้เรียนด้านสามัญเป็นหลัก หากไม่เข้าใจบริบทของพื้นที่การจัดการเรียนการสอนจะลำบากมาก ซึ่งจะต้องมีการจัดระบบการศึกษาชายแดนใต้ใหม่.