วิชาชีพพยาบาลส่อวิกฤติแห่ลาออกกวา100คน/ปี
สำนักข่าวอะลามี่ : พยาบาลยื่นหนังสือ “นัฐวุฒิ” ถึงรัฐบาล พยาบาลวิกฤติหนัก ลาออกกว่า 100 คน / ปี หลังไม่มั่นคงในอาชีพ ขณะที่ โรงพยาบาล มอ.รับผู้ป่วยจาก 14 จังหวัดภาคใต้ กระอักหนัก ต้องลดเตียงผู้ป่วยลงทุกปี ขณะนี้เตียงผู้ป่วยลดลงแล้วถึง 15 % กระทบหนักกับรับผู้ป่วยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่
ที่สำนักงานศูนย์เรียนรู้ยางพาราจังหวัดพัทลุง บ้านควนอินนอโม เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นายมนูญ หมวดเอียด ตัวแทนพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.) พร้อมด้วยพยาบาลวิชาชีพจำนวนหนึ่งจำนวนหนึ่ง ได้ยื่นหนังสือถึง นายนัฎวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงรัฐบาล ขณะเดินทางไปเป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้ยางพาราจังหวัดพัทลุง โดยระบุขอความอนุเคราะห์ช่วยประสานงานกับ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
นายมนูญ กล่าวว่า กลุ่มพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (มอ.) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เคยไปยื่นหนังสือต่ออดีตนายกรัฐมนตรี และ
อดีตรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับเรื่องการขอบรรจุเข้ารับราชการ จนถึงขณะเรื่องใกล้จะครบ 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการดำเนินการใด ๆ จากรัฐบาลแต่อย่างใด
ทางกลุ่มพยาบาล จึงมีมติให้ยื่นหนังสือสอบถามความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวกับ นายกรัฐมนตรี นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการในวันที่ 13 มีนาคม 2555 นี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล จึงขอความอนุเคราะห์ ให้ช่วยประสานงานกับ นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นายมนูญ ยังกล่าวอีกว่า รพ.มอ.ขณะนี้ได้ประสบกับภาวะการขาดแคลนบุคคลากรทางด้านพยาบาลวิชาชีพ เนื่องจากมีการลาออกโดยที่ยังไม่ได้รับการบรรจุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในปี 2553 ได้ลาออกถึง 152 คน และมีแนวโน้มว่าจะลาออกอีกจำนวนมาก โดยขณะนี้ลาออกทุกปีไม่ต่ำกว่า 100 คน ส่งผลให้โรงพยาบาลเกิดการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพเป็นอย่างหนัก จนมีผลกระทบต่อผู้ป่วย และหอผู้ป่วยหลายหอ ต้องลดจำนวนเตียงลง เนื่องจากอัตรากำลังดูแลผู้ป่วยไม่เพียงพอใน
“คาดว่าตอนเตียงผู้ป่วยลงลดลงไปประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ และกำลังเกิดภาวะวิกฤติ รพ.มอ. เป็นโรงพยาบาลตติยภูมิ ที่รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่าง ๆและทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้ และ รองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วจะมีผลกระทบต่อการเปิดศูนย์อุบัติเหตุที่รัฐบาลต้องการให้เป็นศูนย์รองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย”
นายมนูญ ยังกล่าวอีกว่า สาเหตุของการลาออกของพยาบาลวิชาชีพ เนื่องจากยังไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ ทำให้ไม่มีความมั่นคงในวิชาชีพ ขาดกำลังใจทำงาน ทั้งที่ภาระงานที่ตอ้งรับผิดชอบหนักและซับซ้อนกว่าโรงพยาบาลอื่น ๆ ในภาคใต้ ดังนั้นเพื่อให้โรงพยาบาลสงขลนครินทร์ สามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงขอให้โปรดพิจารณาเรื่องการบรรจุพยาบาลวิชาชีพ ที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ เป็นข้าราชการของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ด้วย.