สำนักข่าวอะลามี่ : จะมีสักกี่คนที่เป็นนักธุรกิจใหญ่ แต่กลับมาสนใจชีวิตผู้อื่นโดยไม่ได้หวังผลตอบแทน จากผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ เพราะผู้ที่ถูกช่วยเหลือ ไม่มีปากไม่มีเสียง ” นี่คือมุมมองของ”ธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ “ผู้บริหารในเครือเกษมกิจ กับบทบาท นายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
คุณ ธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ (นายกสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย) (TSPCA) และในฐานะเจ้าของโรงแรม KATARY GROUP HOTEL & SERVICED APARTMENTS ให้สัมภาษณ์พิเศษ “สำนักข่าวอะลามี่: ณ โรงแรม KANTARY BAY ( แคนทารี่ เบย์) จังหวัด ระยองถึงมุมมองการบริหารธุรกิจและมุมมองการบริหารสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย
หลักการบริหารโรงแรม
คุณ ธีระพงศ์ บอกว่า นโยบายการบริหารเน้นให้พนักงานความสุข เกิดความภาคภูมิใจในการทำงาน ใช้หลักการบริหารแบบไทยๆ โรงแรมที่บริหารจะไม่มีฝ่ายบุคคล โดยจะเน้นให้หัวหน้างานแต่ละสาย จะต้องเข้าถึงลูกน้องของตัวเองให้ได้
สำหรับโรงแรมมี อยุ่-กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มแต่ละแบรนด์กลุ่ม จะมีเอกลักษณ์ของโรงแรม ต่างกัน ประกอบด้วย Cape , Katary , Kameo ในส่วนของโรงแรมกลุ่ม Kantary Hotel นั้นจะมีจุดเด่นโดยจะเน้นห้องที่มีขนาดใหญ่ โอ่โถง ทุกห้องจะมีห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอนที่แตกต่างจากห้องมาตรฐานทั่วไป ลูกค้าที่มาพักจะรู้สึกเหมือนบ้านของตนเอง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะชอบและพอใจ
ส่วนราคานั้น ค่อนข้างต่ำกว่าโรงแรมทั่วไป เพราะไม่อยากให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาแพงเกินควร แต่อยากให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีในแบรนด์ทั้ง 3 แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคาห้องพัก และค่าอาหารทั้งนี้ลูกค้าที่มาใช้บริการทั้ง 3 แบรนด์ จะมีลูกค้ามาใช้บริการไล่เลี่ยกัน ยกเว้นโรงแรมที่เน้นให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาจจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการท่องเที่ยว ในช่วงของ Hight และ Low Season
ส่วนวิสัยทัศน์การบริหาร คุณธีระพงศ์ บอกว่า เราอาจไม่เรียกว่าวิสัยทัศน์ในการบริหาร แต่เราจะใช้คำว่า“ทำอะไร ก็ทำให้มันดีที่สุด” ถ้าจะสร้างโรงแรมก็จะต้องสร้างโรงแรมให้ดีที่สุด และการดำเนินการก็จะตามมาเอง
สำหรับแผนการบริหารในระยะสั้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการสำรวจว่ามีโครงการอะไรบ้างที่น่าสนใจ ทั้งนี้ ถ้าไม่ได้ลงเสาเข็ม ก็ยังไม่อยากให้คำตอบ ทั้งนี้หากเห็นว่าไม่ดีก็สามารถงดหรือยกเลิกก็ได้ ส่วนระยายาวจะมีแผนจะนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์หรือไม่
คุณ ธีระพงศ์ บอกว่า เป็นเรื่องของอนาคตยังไม่มีอะไรแน่นอน แต่ตอนนี้ยังไม่มีแผนการอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
“เรามีปรัชญาในการทำงานคือ ทำอะไรให้มันดีที่สุด ในแต่ละเรื่อง แล้วภาพรวมมันก็จะดีเอง เปรียบเสมือนรถ หากชิ้นส่วนประกอบดี นำมาประกอบเป็นรถก็จะเป็นรถที่ดี และขับมันก็จะดีเอง”คุณ ธีระพงศ์ กล่าว
จากนักธุรกิจสู่ผู้นำพิทักษ์สัตว์
คุณ ธีระพงศ์ กลาวถึงจุด ริเริ่มในการจัดตั้ง สมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ฯ ว่า มีหลายท่านที่มีความคิดเห็นตรงกัน จึงนำความคิดเห็นนั้นมาทำงานร่วมกัน โดยงานที่เราทำจะให้คงามสำคัญกับเรื่องคุณภาพสัตว์ และการทารุณกรรมสัตว์ ทั้งนี้ในประเทศไทยในอดีตยังไม่องค์กรหรือสมาคมฯที่เข้ามาดูแลเกี่ยวกับสัตว์อย่างจริงจัง พวกเราจึงมารวมตัวจนทำเป็นเรื่องเป็นราว จนในที่สุดสามารถจัดตั้งสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย นับเป้นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การทำงานอย่างยั่งยืนต่อไป
ต่อคำถามที่ว่า เป็นเจ้าของโรงแรมอยู่แล้วและทำไมจึงมาทำงานเป็นนายกสมาคมฯคุณธีระพงศ์ บอกว่า เราอยากทำอะไรที่คิดว่าเป็นประโยชน์ได้ สังคมยังขาดตรงไหน ขณะเดียวกัน สัตว์ไม่มีปากมีเสียงไม่สามารถเรียกร้อง ถ้าทำอะไรให้กับสัตว์จะมีคนเขาเห็นอกเห็นใจเรา โดยที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่เป็นการยุ่งเกี่ยวทางการเมืองมากเกินไป
“คนที่มีเมตตาต่อสัตว์ และทำอะไรเพื่อสัตว์เหล่านั้นมีอยู่เยอะ ทุกคนจึงมีความเห็นเดียวกันจึงได้จัดตั้งเป็นสมาคมฯ จะได้มีอำนาจที่จะเสนอจัดตั้ง พรบ. และมีอำนาจในการต่อรองรัฐบาลมากขึ้น”คุณธีระพงศ์ กล่าวและว่า
สำหรับผลงานของสมาคมฯที่ผ่านมา เรามีการเข้าไปช่วยสถานเลี้ยงสัตว์จรจัด และทำอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เรามีองค์กร บริษัทยื่นมือเข้ามาช่วยบริจาคอาหารสุนัข เช่น บริษัท นูทริกซ์ จำกัด และบริษัทย่อยอื่นๆ ช่วยบริจาคอาหารสุนัข แมว และ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด สนับสนุนอุปกรณ์ก่อสร้างสถานเลี้ยงสัตว์
นอกจากนี้ ยังมีกรมปศุสัตว์ สภาทนายความ ร่วมประชุมกันกว่า10 ครั้ง โดยขยายโครงการด้วยการจัดโครงการรักสัตว์ในโรงเรียน มีการจัดบรรยายตามโรงเรียนต่างๆ ผลักดันเข้าหลักสูตรแห่งชาติในวิชาลูกเสือ จุดประสงค์ เพื่อปลูกฝังให้เด็กรักและเมตตาเอื้ออาทรต่อสัตว์
อีกกทั้งยังจัดประกวดเรื่องสั้น บันเทิงคดี ส่งเสริมไปในทางเมตตาสัตว์ มีโครงการรณรงค์การท่องเที่ยว โดยให้ประกาศนียบัตรในฐานะองค์กรการท่องเที่ยวนั้น เช่น สวนสัตว์ ฯลฯ ดูแลสัตว์ให้สุขภาพดี สถานที่เลี้ยงสะอาด มีสุขอนามัยที่ดี ให้ ททท.ประกาศอย่างนี้ คุณก็จะเที่ยวอย่างสบายใจได้ ซึ่งหลายแห่งทำโครงการอยู่
คุณธีระพงศ์ บอกว่า การเมตตาสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ ควบคู่กับสังคมที่เป็นมนุษย์ สะท้อนถึงระดับความรุนแรง ความทารุณสัตว์ หากมนุษย์มีความเมตตาต่อสัตว์มาก ความรุนแรงความทารุณลดลง หรือแทบจะไม่มี และส่งผลทางอ้อมในเรื่องของการส่งออกสัตว์และเกิดความทารุณสัตว์อาจทำให้ผู้บริโภคเสื่อมศรัทธา ดังตัวอย่างประเทศไทยส่งออกกล้วยไม้ไปต่างประเทศไม่ได้ เพราะมีการล่าสัตว์ป่า บางประเทศไม่อนุญาติให้นำเข้า
“ ถ้าสังคมจะดีได้ก็ต้องดูแลเด็กและเยาวชนให้รักสัตว์รักสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนที่อ้างได้ว่าประเทศนั้นเจริญก้าวหน้ามากกว่าการสร้างความเจริญทางวัตถุ” คุณธีระพงศ์ กล่าว.