Ibank ทุ่ม500ล.พัฒนาเฟชั่นมุสลิมก้าวสู่ตลาดโลก
สำนักข่าวอะลามี่ : ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จับมือสถาบันพัฒนาอุตสากรรมสิ่งทอ อัพเดทเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมอัดงบ500 ล้านพัฒนาเครื่องแต่งกายมุสลิม หวังก้าวสู่ตลาดโลก
นายก่อเกียรติ วงศ์อารีย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น G ห้างสรรพสินค้า ลี การ์เด้นท์ พล่าซ่า หาดใหญ่ ว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิม ถือเป็นอุตสาหกรรมระดับชุมชน ที่มีความสำคัญและสามารถสร้างรายได้เลี้ยงชีพแก่กลุ่มผุ้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจ โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี
โดยส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องแต่งกาย หมวกกิเยาะ ผ้าคลุมผมสตรี ผ้าบาติก รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์จากผ้า เช่นกระเป๋าแบบต่างๆ การตัดเย็บเสื้อผ้าจากผ้าบาติกและผ้าปาเต๊ะ เป็นต้น โดยเฉพาะที่จังหวัดปัตตานี มีผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ที่เข้มแข็งและมีศักยภาพมาก หากแต่ผู้ผลิตสินค้าประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย มักประสบปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตสูงทำให้สินค้าที่ได้มีราคาสูงกว่าที่อื่น รวมทั้งปัญหาในเรื่องของการลอกเลียนแบบสินค้า และราคาในการจัดจำหน่าย ทำให้มีความเสียเปรียบในการแข่งขันทางการตลาด
“ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ I bank ได้จัดทำโครงการนำร่อง พัฒนาผลิตภัณฑฺอุตสาหกรรมเครื่องต่างหายมุสลิมปี 2554 ตามแผนยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและชุมชนในพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล สงขลา ปี 2554-2558 ภายใต้แนวทางยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิม โดยมีสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการราย่อย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อให้มีองค์ความรู้ และ ทักษะทางด้านการออกแบบให้มีความร่วมสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพื่อให้กับวินค้า รวมทั้งสร้างโอกาส ขยายช่องทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น พร้อมบริการสินเชื่อจุลภาคแก่ประชาชนและชุมชนที่อยู่ในข่ายยากจน มีรายได้น้อย และ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพได้ โดยตั้งเป้ารวม 12,950 ล้านบาท แบ่งเป็นอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายมุสลิม 500 ล้านบาท" นายก่อเกียรติ กล่าวและว่า
นอกจากนี้โครงการดังกล่าวนับว่าเป็นโครงการหนึ่งทีi bank ได้แสดงเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจได้เข้าร่วมกิจกรรม การอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับสิทธิในการพิจารณาสินเชื่อภายใต้บริการของ ibank
ด้าน ร้อยโท สุรกำพล อดุลรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้แบ่งเป็น 2 เฟส โดยเฟสแรก ได้ดำเนินการซึ่งสรุปโครงการในวันนี้ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนหนึ่งเมื่อสามารถสร้างผลิภัณฑ์และมั่นใจจะขยายตลาดสามารถขอสินเชื่อกับ ibank ซึ่งกำหนดวงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป
" ถือว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในเรื่องของการสร้างอัตลักษณ์ จินตนาการให้กับสินค้า ซึ่งแตกต่าง จากคู่แข่ง เรื่องการตลาด และช่องทางการจำหน่าย ซึ่งได้นำระบบไอซีทีเข้ามาช่วย ผู้ประกอบการสามารถมีเว็บไซต์เพื่อนำเสนอสินค้าของกลุ่ม หรือตนเองได้ ซึ่งทาง ibankหวังจะต่อยอดเพื่อพัฒนาเครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อให้สามารถสร้างมูลค่า และสามารถส่งออกได้" ร้อยโทสุรกำพล กล่าวและว่า
ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการนี้สามารถเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเครื่องแต่งกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 55 ราย สร้างผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมุสลิมบุรุษและสตรี 5 คอลเล็กชั่นๆ ละ 10 แบบ รวม 50 แบบ ขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาดโดยสามารถใช้ IT ช่วยในการนำเสนอผลิตภัณฑ์สู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น อีทั้งยังเกิดการจัดแสดงผลงานออกแบบเครื่องแต่งกายมุสลิม ผ่านนิทรรศการ และ ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ Muslim Costume Profile เกี่ยวกับผู้เข้าร่วมอบรม และ ผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกายมุสลิม จำนวน 1,000 เล่ม
ด้าน นางเจ๊ะบีเดาะ อาบูบากา ประธานโอท็อปนราธิวาส กล่าวว่า ทางกลุ่มมีสมาชิก 15 คน จากเดิมทีการทำรังดุมไม่ค่อยมีเทคนิค เจอปัญหาทำให้ต้องหาทางแก้กันเอง แต่เมื่อมาเข้าโครงการนี้ก็ทำให้ได้ความรู้ที่หลากหลายมีเทคนิควิธีการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้รูปแบบการดีไซน์ทางกลุ่มดีขึ้นมาก สามารถเพิ่มออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งมาจากทั้งมาเลเซีย และอินโดนีเซียอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ทางกลุ่มก็ได้มีการไปออกงานร่วมกับทางธนาคารและสถาบัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ทำให้เข้าใจในรูปแบบผลิตภัณฑ์และเห็นช่องทางการตลาดถือว่าโครงการนี้ดีมาก
ขณะที่ นางสาวกิติมา มะสูละ ประธานกลุ่มผ้าบาติกบ้านกูยิ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส กล่าวว่า เข้าร่วมโครงการกับ ibankทำให้ได้เรี่ยนรู้ทั้งเรื่องวิธีการตัดเย็บ บรรจุภัณฑ์ และเฟชั่นสมัยนิยม ทำให้กลุ่มได้พัฒนาสินค้าให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และยังทำให้กลุ่มสามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิตเครื่องแต่งกายมุสลิม มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล และชิ้นงานระหว่างกัน ทั้ง 5 จังหวัดชายแดนไม่เฉพาะแค่นราธิวาสเท่านั้น
ด้าน นายวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า การดำเนินงานในปี 2554 ได้มีการจัดอบีทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ในหัวข้อตางๆ อาทิ การจัดการองค์ความรู้และเตรียมการออกแบบ Material Knowledge and Design Management การออกแบบและการจัดทำ Collection เทคนิคการทำแบบและการตัดเย็บ IT Application & Marketing เทคนิคการถ่ายภาพ รวมทั้งได้นำผู้เข้าร่วมโครงการเยี่ยมชมศึกษาและดูงานโรงงานต้นแบบ ณ จังหวัดแพร่ ลำพูน เชียงใหม่ จนสำเร็จ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 5 Collection 50 แบบ ซึ่งได้แบ่งออกเป็นแต่ละธีม คือ ดาหลา ใบยาง ใบไม้สีทอง บัว และ ต้นแล้ว จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเครื่องต่างกายมุสลิมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 55 คนได้แก่ นราธิวาส 23 คน ยะลา 9 คน ปัตตานี 11 คน สตูล 8 คน สงขลา 4 คน
นายฮามะสมาลี อาแว ประธานกลุ่มกะปิเยอะ ปัตตานี กล่าวว่า ทางกลุ่มส่งหมวกกะปิเยาะไปจำหน่ายที่ซ่อุมานานแล้ว และได้ร่วมเข้าโครงการนี้ทำให้มีความรู้มากขึ้นและมั่นใจศักยภาพเครื่องแต่งกายมุสลิมไทยสามารถสู้คู่แข่งอย่างจีนและอินโดนีเซียได้เนื่องจากสินค้าไทยคุณภาพมากกว่า ก่อนหน้านี้เราแพ้จีนเพราะเขาขายหมวกไปละ 9 บาท ในขณะที่ไทยเราขาย 100 กว่าบาท แต่เมื่อเวลาพิสูจน์คุณภาพตอนนี้ออเดอร์กลับคืนมาเกือบ100 % และเครื่องสิ่งทอประเทศไทยไม่ได้ด้อยกว่าใครและอยู่อันดับ1 ของอาเซียนด้วยซ้ำ