"ยางก้อนถ้วย"ทำชาวสวนเสียโอกาสรายได้2พันล้าน/ปี
สำนักข่าวอะลามี่ : อุตสาหกรรมยางพารารับซ์อ"ยางก้อนถ้วย"ไม่งั้น นำไปแปรูปทำยางเอสทีอาร์ ที่มีคุณภาพสูงและราคาแพง เผยภาคอีสาน-เหนือ ผลิต "ยางก้อนถ้วย"ขายในราคาถูกมาก ทำให้สูญเสียโอกาสรายได้จากราคายางพาราปีละ 2,000 ล้าน
แหล่งข่าว จากวงการพ่อค้ายางพาราจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้บรรดาพ่อค้าซื้อยางจากภาคใต้ ต่างเดินทางไปลงทุนตั้งบริษัท รับซื้อและประมูลซื้อยางจากภาคอีสาน ภาคเหนือ ลงมาส่งโรงงานอุตสาหกรรมยางแท่งในจังหวัดพัทลุงและทางภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง บริษัท สยาม อินโด รับเบอร์ จำกัด ผู้ผลิตยางแท่งส่งออกรายใหญ่ของภาคใต้ เป็นผู้รับซื้อรายใหญ่
“ยางก้อนถ้วยมีเท่าไหร่พ่อค้าจะรับซื้อทั้งหมด โดยไม่มีการปฏิเสธเหมือนกับยางแผ่นดิบยางก้อนถ้วยภาคอีสาน ภาคเหนือ เป็นแหล่งผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพ และเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ของประเทศ โดยทางภาคใต้ ได้งดการผลิตไปเนื่องจากได้ราคาที่ไม่ดีกว่าน้ำยางสด และแผ่นดิบ เพราะยางข้นถ้วยราคาจะถูกกว่ายางแผ่นดิบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์” แหล่งข่าว กล่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ยางก้อนถ้วยทางโรงงานอุตสาหกรรมยางผู้ส่งออกจะนำมาแปรูปเป็นยางแท่ง เอสทีอาร์ 10 และ 20 ซึ่งจะได้ราคาสูงถึง 106 บาท / กก. จากราคาที่ยางก้อนถ้วยราคา 45 – 50 บาท / กก. โดยต้นทุนการผลิตยางก้อนถ้วยประมาณ 12 บาท โดยสูญเสียรายได้ไปแต่ละปีจำนวนมหาศาลจากสวนยางพาราประมาณ 1 ล้านไร่ ประมาณ 3 ล้านกิโลกรัม / วัน เป็นเงินถึงประมาณ 2,000 ล้านบาท / ปี ที่จะต้องขาดหายไป
ด้าน นายเพิก เลิศวังศ์พงศ์ อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า ทางภาคอีสาน เป็นแหล่งใหญ่ผลิตยางคัพลัม หรือ ยางก้อนถ้วย ซึ่งยางก้อนถ้วยถือว่าผลิตง่ายและรวดเร็ว ซึ่งผลิตมาแล้วประมาณ 5 ปี ส่วนใหญ่แหล่งที่ส่งออกคือโรงงานอุตสาหกรรมยางทางภาคใต้ เพื่อนำไปแปรรูปเป็นยางเอสทีอาร์ ซึ่งเป็นยางที่ใช้มากที่สุด.