Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ถอดบทเรียน : การแก้ปัญหาเอดส์ในชุมชนมุสลิม (1)

ถอดบทเรียน : การแก้ปัญหาเอดส์ในชุมชนมุสลิม (1)

โดย อ.อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ( อับดุลสุโก ดินอะ )

 Shukur2003@yahoo.co.uk;

 ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา

              

                สำนักข่าวอะลามี่ : ในวันที่ 1 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ร่วมใจต้านภัยเอดส์ โดยกระทรวงสาธารณสุข เน้นการกระตุ้นให้สังคมตระหนักต่อปัญหาโรคเอดส์ ตลอดจนมีจิตสำนึกในการป้องกันการติดเชื้อเอดส์ โดยมีแนวคิดการรณรงค์ตามคำขวัญ คือ เอดส์หยุดได้ ร่วมใจรักษาสัญญา (stop aids keep the promise)

             จากรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อที่มีอาการในประเทศไทย (31 ตุลาคม 2550) สำนักระบาดวิทยา รายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วยเอดส์ ทั้งสิ้น จำนวน 322,296 ราย เสียชีวิตแล้ว จำนวน 89,969 ราย แนวโน้มของผู้ป่วยเอดส์และเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ลดลงกว่าในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากการรักษาผู้ป่วยเอดส์ด้วยยาต้านไวรัส ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาว และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงทำให้มีผู้ป่วยเอดส์และผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ลดลง

              ถึงแม้ประเทศไทยได้รับการพิจารณาจากองค์การอนามัยโลกว่าเป็นประเทศตัวอย่าง ในการจัดการและรับมือกับปัญหาโรคเอดส์

               แต่ในส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะสังคมมุสลิมในภาคใต้ นโยบายและวิธีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งจากภาครัฐ เอกชน รวมถึงประชาชนยังไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของสังคมท้องถิ่นมากนัก

               นอกจากนี้ องค์ความรู้ในการจัดการปัญหาโรคเอดส์ในสังคมมุสลิมยังขาดทั้งการศึกษาวิจัย เชิงวิชาการ และการดำเนินงานป้องกัน แก้ไขปัญหา และจัดบริการที่สอดรับกับบริบทชุมชน จากปัญหาดังกล่าวทำให้สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย นำโดย “รอซิดี เลิศอาริยะพงษ์กุล” ในฐานะรองประธานเครือข่ายศาสนากับการทำงานด้านเอดส์ (ประเทศไทย) ได้ร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในระดับนานาชาติโดย เฉพาะกองทุนโลก และประเทศ (กระทรวงสาธารณสุข) ได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไข(เชิงปฏิบัติการ)การแพร่ระบาดของเอดส์ใน ชุมชนมุสลิม

                โดยได้นำข้อมูลความรู้ความเข้าใจที่สัมพันธ์กับลักษณะทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา จารีตประเพณี รวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ การเมือง และเศรษฐกิจท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้อย่างครบถ้วนและจริงจัง

                 จากการที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมโครงการในฐานะผู้ประสานโครงการป้องกันและแก้ไข การแพร่ระบาดของเอดส์ในชุมชนมุสลิมจังหวัดสงขลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และเป็นคณะผู้ตรวจคู่มือเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเอดส์ พบว่า

                 1.ปัญหาความเข้าใจของมุสลิม ปัญหาของผู้ป่วยเอดส์เป็นปัญหาที่มุสลิมบางคนมองว่า ไม่มีมุสลิมจะติดเอดส์ ถึงมีมันก็มีน้อยกว่าคนอื่นเขา โรคนี้เราไม่ค่อยเป็นกันหรอก มันเป็นโรคที่อัลลอฮฺลงโทษพวกที่สำส่อน พวกลักเพศผิดมนุษย์ เป็นต้น

                  ทัศนคติเหล่านี้ ทำให้เราไม่ได้รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเอดส์ จำนวนผู้ป่วยทุกวันนี้มีจำนวนมากกว่าจำนวนเตียงในโรงพยาบาล ดังนั้นจึงมีคนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ นับตั้งแต่การตรวจวินิจฉัย การให้ยาต้านไวรัส รวมไปถึงการดูแลรักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาส ยกตัวอย่าง กรณี ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอดส์ผ่านมาทางมารดาที่ติดเชื้อเอดส์ เป็นเด็กๆในวัย 5-6 ขวบ อยู่ในวัยกำลังซน ฉลาด พูดจาฉาดฉาน

              ผู้ป่วยเหล่านี้บางคนก็ยังมีพ่อแม่พามาหาหมอ แต่บางคนพ่อแม่เสียชีวิตหมดแล้ว ซึ่งในกรณีนี้ญาติสนิทจะเป็นคนพาผู้ป่วยมาหาหมอ ปัญหาที่พบเห็นไม่ใช่เพียงแต่เรื่องของสุขภาพทางกายของผู้ป่วยแต่เพียงเท่านั้น ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเป็นที่รังเกียจของบุคคลรอบข้างตั้งแต่ในบ้านจน กระทั่งถึงนอกบ้าน เรื่องการรับรู้ภาวะที่ตัวเองเป็นอยู่ ซึ่งเด็กๆไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคอะไร และเป็นเรื่องลำบากเหมือนกันที่จะอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่าตัวเองเป็นโรค อะไรกันแน่

                เด็กบางคนยังเข้าใจว่าที่ตัวเองมาหาหมอทุกเดือนนั้นเป็นเพราะว่าตัวเองเป็น โรคหวัด นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องอีก แม่ของผู้ป่วยรายหนึ่ง (ตัวเองก็เป็นเอดส์เหมือนกัน) ต้องเจียดเงินส่วนหนึ่งให้ลูกเพื่อเป็นค่ายาต้านไวรัส ในขณะที่ตัวเองไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากค่ายาสำหรับตัวเองได้ใช้จ่ายไปในส่วนของลูกแล้ว

               นี่คือเรื่องราวที่น่าสรรเสริญในความรักของแม่ที่เสียสละชีวิตของตัวเอง เพื่อต่ออายุให้กับชีวิตลูก ในขณะที่สังคมส่วนใหญ่อยากมองข้าม

                เรื่องนี้งดงามกว่าเรื่องราวของชีวิตผู้คนในโลกที่ใส่หน้ากากเข้าหากันเสีย อีก ปัจจุบันนี้ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยที่กำลังสร้างครอบครัว ผู้คนเหล่านี้กำลังตาย และจะมีเรื่องราวโศกนาฏกรรมของคนในบ้านพวกเขาเหล่านี้ ตามมาอีกมากมาย

               แล้วเรื่องราวเหล่านี้จะไม่เกิดในสังคมมุสลิมบ้างหรือ และไม่แน่นักว่า หนึ่งในผู้ป่วยเหล่านั้นอาจมีลูกหลานของเรา คนที่เรารักอยู่ในนั้นด้วยก็เป็นได้ ถ้าเราคิดว่าเป็นปัญหา มุสลิมจะต้องมองปัญหาเอดส์นี้ด้วยท่าทีของผู้ที่เข้าใจ และเห็นใจมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าเรายังมองเอดส์ด้วยท่าทีที่ปฏิเสธ เราก็จะขาดองค์ความรู้ที่สำคัญอีกมากมาย ตั้งแต่การป้องกันไม่ให้บุตรหลานและคนในครอบครัวมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการ เป็นเอดส์ การดูแลรักษา การเอื้ออาทร การเห็นใจต่อผู้ป่วย การจัดการเกี่ยวกับศพ การอาบน้ำมัยยิต หรือศพ ที่ต้องทำให้ปลอดเชื้อ การจัดการเกี่ยวกับเรื่องราวภายหลังการตายของผู้ป่วย การดูแลทายาทของผู้ป่วย

              สังคมมุสลิมนั้นไม่ได้อยู่โดดๆห่างออกไปจากสังคมอื่นเลย ปัญหาในสังคมที่แวดล้อมเราอยู่นั้น จริงๆแล้วก็เกิดขึ้นในสังคมมุสลิมได้เหมือนกัน เราต้องตระหนัก และยอมรับความจริง พร้อมทั้งเผชิญหน้ากับปัญหาด้วยความรู้ ความเข้าใจ มองเพื่อนมนุษย์ด้วยสายตาที่เหมือนเพื่อนมองเพื่อนด้วยกัน ปัญหาต่างๆก็จะได้มีทิศทางในการแก้ไขที่ชัดเจนมากขึ้น

                2. แนวทางหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของเอดส์ในชุมชนมุสลิม “ นายรอซิดี เลิศอาริยะพงษ์กุล” ให้ทัศนะว่านอกจากการใช้ยา การป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หลักศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมชายแดนใต้เป็น แนวทางหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของเอดส์ในชุมชนมุสลิม ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้าน ประกอบด้วย

              1)การพัฒนาทางด้านจิตภาพ (การพัฒนาจิตใจ)

                การพัฒนาด้านจิตภาพ (ด้านจิตใจ) เป็นกระการเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านความเชื่อมั่นศรัทธาในหลักคำสอน ให้กับปัจเจกบุคคลเพื่อให้เกิดจิตสำนึก ความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเกี่ยวกับเพศและยาเสพติด

               2) การพัฒนาทางด้านกายภาพ (ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม)

               การพัฒนาทางด้านกายภาพ (ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม)เป็นการพัฒนาด้านการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันใน สังคม โดยการให้เยาวชน ชุมชนในสังคมรู้จักการทำงานร่วมกัน การแบ่งงานกันทำ การพึ่งพาซึ่งกันและกันหรือการพัฒนาการทำงานเป็นทีม(กลุ่ม) ตลอดจนการรู้จักนำทรัพยากรที่อยู่ในชุมชน(สิ่งแวดล้อม) มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการเป็นอยู่เพื่อคนในชุมชนมีคุณภาพ ชีวิตทีดี ห่างไกลจากโรคเอดส์ นอกจากนี้ การพัฒนาทางด้านกายภาพ ยังหมายรวมถึง การสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อเยาวชนในการดำเนินการกิจกรรมทาง สังคมอีกด้วย

              3) การพัฒนาด้านศักยภาพ (ความสามารถของบุคคล)

              การพัฒนาด้านศักยภาพ (ความสามารถของบุคคล)เป็นการพัฒนาให้เยาวชน ชุมชนในพื้นที่มีทักษะและเทคนิคการทำงานในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพที่ดีในการดำเนินงาน เช่น การพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะในด้านคิดวิเคราะห์และทักษะการทำงานเป็นทีม เป็นต้น อันจะนำไปสู่การทำงานที่ชุมชนขึ้นมาเป็นคนทำงานในลักษณะเพื่อนช่วย

(อ่านต่อตอนต่อไป)

ติตามต่อในบล็อค: http://www.oknation.net/blog/shukur 09-7359279