ผู้แทนกองทุนจี้รัฐทบทวนมติ7เมษา ขอบริหารงบ7พันล้านเองรัฐห้ามแทรก
สำนักข่าวอะลามี่: ผู้แทนเกษตรกรฯ ชง4วาระเข้าประชุมบอร์ดใหญ่ 25พ.ย.นี้ จี้ รัฐทบทวนมติ ครม.7 เมษาและ มติ ครม.8กุมภาพันธ์ พร้อมขอบริหารงบ7,000ล้านบาท ซื้อหนี้เกษตรกรกว่า5แสนรายเอง รัฐห้ามแทรกแซง ขู่ชุมนุมหน้าทำเนียบ หากไม่บรรจุวาระ4ข้อ ของเกษตรกรเข้าการประชุมบอร์ดใหญ่
นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล ผู้แทนเกษตรกรภาคกลางในฐานะประธานกรรมการผู้แทนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมด้วยกรรมการฯ ได้ร่วมแถลงข่าว หลังจากการประชุมเตรียมความพร้อมก่อนจะมีการประชุมใหญ่ โดยมี นายชุมพล ศิลปาชา รองนายกรัฐมนตรี และนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประชุมร่วมผู้กรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อย่างเป็นทางการครั้งแรก หลังจากที่รัฐบาลชุดนี้เข้าบริหารระเทศ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2554 ที่ทำทำเนียบรัฐบาล
นายยศวัจน์ กล่าวว่า หลังจากประชุมกรรมการกองทุนฯโดยมีมติร่วมกันว่าขอรัฐบาลทบทวนมติ ครม.7เมษายน 2553 และมติ ครม. 8ก.พ.2553 ซึ่งมติดังกล่าวจะให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เข้าไปซื้อหนี้ของเกษตรกรจากธนาคารของรัฐ4แห่งประกอบด้วย ธนาคาร ธอส. ธนาคาร ธกส. ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย โดยมีเกษตรกรจำนวน 510,000 รายทั่วประเทศ
ทั้งนี้กรรมการกองทุนฯมีความเห็นว่า มติ 7เมษาและ8ก.พ.2553 ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเกิดอุทกภัยส่งผลให้เกษตรกรจำนวนมากได้รับผลกระทบอย่างหนัก พร้อมกันนี้จะเรียกร้องให้รัฐบาลให้อิสระกับสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯในการบริหารงบประมาณ 7,000 ล้านบาท ที่รับฐาลให้มากก่อนหน้านี้ โดยยืนยันว่า หากให้กองทุนฟื้นฟูฯบริหารงบเอง เกษตรกร510,000 ราย ซึ่งประมาณการว่ามีที่ดินทั่วประเทศกว่า5ล้านไร่ จะไม่หลุดไปอยู่ในมือของกลุ่มทุนหรือสถาบันการเงินอย่างแน่นอน
“ ขณะนี้กองทุนมีเงนในมืออยู่ 4,000ล้านบาท ซึ่งการขอให้มีการทบทวนมติ ครม.7เมษาและ8กุมภา 2554 จะไม่กระทบกับรัฐบาล เพียงแต่รัฐบาลต้องให้อิสระกับองทุนฟื้นฟูฯในการบริหารจัดการงบประมาณเอง “ นางจินดารัตน์ ถวิลเติมทรัพย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ในฐานะกรกรมการบริหารกองทุน กล่าวเสริม
นายยศวัจน์ กล่าวอีกว่า นอกจากเรื่องของการทบทวนมติครม.แล้ว ก่อนหน้านี้ทากองทุนได้เสนอว่าระการประชุม เพื่อพิจาณา 12 ประเด็น แต่ล่าสุดได้รับการประสานจากรัฐบาลตัดประเด็นออกหลายวาระ เหลือเพียง 4วาระ ซึ่งกรรมการมองว่าไม่สอดคล้องกับความต้องการของกองทุนจึงได้เสนอให้ รับบาลบรรจุวาระเพิ่มเติมตามทีเสนอไป โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะต้องบรรจุว่าระสำคัญดังนี้ประกอลบการพิจาณาด้วย
1.ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7เมษายน และวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553
2.ขอความเห็นชอบให้เสนอของบประมาณจากคณะรัฐมนตรีในการซื้อสินทรัพย์คืน กรณีเจ้าหนี้ หรือบุคคลภายนอกซื้อทรัพย์ให้หลังจากเกษตรกรสมาชิกขึ้นทะเบียนหนี้ไว้
3.ขอความเห็นชอบรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ปี2553-2554 เพื่อเข้าสู่การจัดหนี้
และข้อ4 ขอความเห็นชอบให้คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ปฎิบัติหน้าที่ต่อไป นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติเห็นชอบไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจังหวัดชุมใหม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทำงานในภาวะสุญญากาศ
ทั้งนี้ในที่ประชุมมีมติว่า จะเสนอสาระการประชุมเพิ่มดังกล่าวเพื่อบรรจุเข้าเป็นวาระการประชุมใหญ่ในวันที่ 25พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้ หากรัฐบาลไม่บรรจุวาระกาประชุมดังกล่าวเข้าที่ประชุม สมาชิกกองทุนฯจากทั่วประเทศจะมาทวงวาระการประชุม โดยจะเริ่มชุมนุนมที่ทำเนียบรัฐบาลและที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ และจะรอฟังมติการประชุมในวันที่ 25 พฤศจิกายนด้วย