Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   พูโลออกแถลงการณ์ค้าน”กัสตูรี่”สถาปนาตัวเอง

พูโลออกแถลงการณ์ค้าน”กัสตูรี่”สถาปนาตัวเอง

             สำนักข่าวอะลามี่ :  พูโล ส่งจดหมายแถลงการณ์ถึง สำนักข่าวอะลามี่ ปฎิเสธ ” กัสตูรี มะโกตา ” หลังปราะกาศขึ้นตำแหน่งผู้นำในขบวนการพูโล เมื่อเร็วๆนี้  ขณะที่นักวิชาการชี้เป็นสัญญาณที่รัฐไม่ควรละเลย

             ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ สำนักข่าวอะลามี่ นำเสนอข่าว ขบวนการพูโลออกแถลงการณ์แต่งตั้งผู้นำคนใหม่ โดย ปรากฏชื่อของ กัสตูรี มะโกตา เป็นปรานขวนการคนใหม่ เมื่อเร็วๆนี้

              ล่าสุด ทางสำนักข่าวอะลามี่  ได้รับจดหมายทางอีเมลล์ โดยระบุว่า ขบวนการพูโลได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2011 และมีมติร่วมกัน ในการจัดตั้ง Dewan Syura Pimpinan PULO (DSPP)  ซึ่งแป็นการรวมองค์กรชั่วคราว เพื่อที่ใช้ในการจัดการการรวมกัน และดำเนินกิจกรรมของขบวนการ PULO

                แถลงการณ์ยังระบุว่า การรวมกันของ นายอับดุล นูร เราะห์มาน ในฐานะประธานขบวนการ PULO (MKP)  และนายลุคมาน บิน ลิมา  รองประธานขบวนการ PULO (MKP- Perpaduan) โดยทั้งสองมั่นใจว่า การรวมกันจะนำไปสู่ความเป็นเอกภาพและการบริหารจัดการใหม่  เพื่อประโยชน์ของความเป็นเรียกร้องอิสรภาพให้กับปัตตานี ซึ่งเป็นแนวทางที่ขบวนการพูโล ต่อสู้มาโดยตลอด

                พร้อมกันนี้ ขบวนการ  DSPP ได้ประกาศไม่ยอมรับการแต่งตั้งประธานขบวนการพูโล คนใหม่  และระบุว่าที่ประชุมขอประกาศให้ทราบว่า คำสั่ง ทีลงนาม โดย  Mr.Kasturi Mahkota  ที่ระบุว่าเป้นประนขบวนการพูโลคนใหม่ โดยระบุมติที่ประชุมเมื่อวันที่ 27/10/2011  ที่ผ่านมา จะไม่ได้รับการยอมรับจากขบวนการ  โดยจดหมายแถลงการณ์ดังกล่าว ลงนามโดย นาย กาบิ้ล อับดุลเราะห์มาน  ตำแหน่ง เลขาธิการใหญ่  สภาที่ประชุมใหญ่พูโล หรือ  Dewan Syura Pimpinan PULO (DSPP)

                แหล่งข่าว ซึ่งเป็นนักวิชาการมุสลิม ที่ติดตามการเคลื่อนไหวของขบวนการในพื้นที่ชายแดนใต้ ระบุว่า การออกมาเคลื่อนไหวของขบวนการในครั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า แม้ว่าที่ผ่านมาจะไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล และหน่วยงานความมั่นคงมากนัก แต่ก็ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างในพื้นที่

                พร้อมกันนี้ นักวิชาการรายนี้บอกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เคยมีการตั้งคณะทำงานติดตามเพื่อเจรจากับกลุ่มขบวนการ ทั้งพูโลและ บีอาร์เอ็น ซึ่งมีนักวิชาการคนหนึ่ง ที่เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์  เป็นผู้ประสานงานให้ นักวิชาการที่ชื่อย่อว่า อาจารย์ ม. ที่มีบทบาท ในเรื่องสันติภาพในต่างประเทศเข้ามาช่วยประสานงาน  โดยมีหน่วยงานหลัก 2 หน่วยงาน คือ สภาความมั่นคงแห่งชาติ และ องค์กรเอกชนนอกประเทศแห่งหนึ่ง (มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา) เป็นผู้ประสานงานกับขบวนการ และเคยเจรจากับระดับแกนนำหลายครั้ง ทั้งที่ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย

                แหล่งข่าวผู้นี้ระบุว่า การเจรจาที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขบวนการอื่นไม่ยอมเข้าร่วมเจรจาด้วย ทำให้ไม่มีความคืบหน้า อย่างไรก็ตามการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ เป็นไปได้ที่คนในระดับขบวนการเองต่างแย่งชิงการนำ และส่งสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการเจรจาอยู่ในขณะนี้ด้วย

 หมายเหตุ : จดหมายแถลงการณ์พูโล ที่ถูกส่งมาถึง สำนักข่าวอะลามี่