Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   แฉเส้นทางเครื่องราชย์มาเลเซีย “ดาโต๊ะ”ปลอม หรือของจริง ( Part 1)

แฉเส้นทางเครื่องราชย์ มาเลเซีย

“ดาโต๊ะ” แท้หรือ ของปลอม ( Part 1)

โดย นิกรากิ๊บ นิก ฮัสซัน 

      สำนักข่าวอะลามี่

++++++++++++++++++++++++++++++

            ในระบบโครงสร้างการปกครองในอดีต บรรดาขุนนางมลายูชั้นผู้ใหญ่มักมีคำว่า “ดาโต๊ะ” นำหน้า 

            คำว่า ดาโต๊ะ จึงมีความหมายและความขลังในสังคมมลายูจนถึงปัจจุบัน 


             แม้แต่ในโครงสร้างการปกครองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ยุค 7 หัวเมืองปักษ์ใต้ ก็มีบันทึกถึงบรรดา”ดาโต๊ะ” ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในสังคมมลายูยุคนั้น  ในประเทศมาเลเซียแต่ละรัฐทั้ง 13 รัฐ รวมทั้งดินแดนสหพันธรัฐ และระดับประเทศ คือ พระราชาธิบดี (Yang di-Pertuan Agong) ก็มักมอบยศ และเครื่องราชต่อบรรดาผู้มีบทบาทในสังคมมาเลเซีย และต่างประเทศ  ยศ และเครื่องราช มีตั้งแต่ ดาโต๊ะ, ดาโต๊ะสรี, ตันสรี และ ตุน

            สำหรับ รัฐที่มีสุลต่าน เจ้าผู้ครองรัฐเป็นผู้มอบให้  เช่น รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปาหัง รัฐโยโฮร์ รัฐนัครีซัมบีลัน รัฐเปรัค รัฐเคดะห์ รัฐเปอร์ลิส รัฐสลังงอร์ ยศที่ใช้ เช่น ดาโต๊ะ ดาโต๊ะสรี จะเขียนว่า Dato’   Dato’ Seri  

            ส่วนรัฐที่ไม่มีสุลต่าน หรือ เจ้าผู้ครองรัฐ เช่น รัฐมะละกา รัฐปีนัง รัฐซาบะห์ และ รัฐซาราวัค ยศที่ใช้ เช่น ดาโต๊ะ ดาโต๊ะสรี จะเขียนว่า  Datuk   Datuk Seri 

             สำหรับ พระราชาธิบดี สามารถมอบยศ และเครื่องราชได้ทุกประเภท รวมทั้งยศ ตันสรี (Tan Sri) และ ยศสูงสุดคือ ตุน (Tun) อย่างไรก็ตาม สำหรับยศ ตันสรี และตุน ในระดับรัฐ ไม่สามารถออกได้ 

            บางคนกล่าวว่า ยศ และเครื่องราช นี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ Datuk Kurnia เป็นการได้มาด้วยความสามารถ และ ผลงานที่ได้สร้างมา 

            และอีกประเภท คือ Datuk Niaga (beli) คือ การได้มาด้วยความเสน่หา ด้วยการซื้อมา แลกแจกแถมรถหรู เดิมจะเป็นนักธุรกิจชาวจีน แต่ปัจจุบันนักธุรกิจชาวมลายู ก็เริ่มจะเป็นบ้าง ด้วยเพื่อความสะดวกทางธุรกิจ  การได้มาซึ่งยศ และเครื่องราช ยังมี 2 ช่องทาง คือมาจากพระราชาธิบดี สุลต่าน เจ้าผู้ครองรัฐ และประมุขรัฐต่างๆโดยตรง และอีกทางหนึ่งคือ จากการเสนอของรัฐบาลกลางในระดับพระราชาธิบดี และรัฐบาลท้องถิ่น

            “ เพื่อนของผมบางคนได้มาด้วยตีสนิทบุตรีสุลต่านก็มี บุตรีสุลต่าน จึงเสนอผ่านบิดาของตนเอง หรือเพื่อนบางคน ได้มาด้วยช่วยหาเสียงให้นักการเมืองชนะการเลือกตั้งรองประธานพรรคอัมโน “

            การที่มีคำนำหน้าชื่อว่า “ดาโต๊ะ” “ดาโต๊ะสรี” สามารถเป็นทางสะดวกหลายๆอย่าง จึงเป็นที่ต้องการของผู้คนในประเทศมาเลเซีย

             เมื่อบางคนไม่สามารถมีคำนำหน้าว่า “ดาโต๊ะ” “ดาโต๊ะสรี”  พวกเขาเหล่านั้นจึงแสวงหายศ เครื่องราชจากต่างแดน และได้กลายเป็นช่องทางหากินของคนในอินโดเนเซีย และภาคใต้ฟิลิปปินส์

            “ เพื่อนคนหนึ่งในภาคใต้ฟิลิปปินส์ ผู้มีเชื้อสายเจ้าตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ซึ่งระบบเจ้าของเขา สลายมาเป็นเวลาน่าจะเป็นร้อยปี ก็อุตส่าห์ตั้งตนเป็นสุลต่าน แล้วมอบยศ เครื่องราช ดาโต๊ะ ดาโต๊ะสรี แลกกับการที่นักธุรกิจชาวมาเลเซีย บริจาคทุน (ซื้อขาย)จำนวนหนึ่ง เพื่อพัฒนาชุมชนที่สุลต่านคนนั้นอยู่ 

              เขาบอกว่า นี่ถือเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องเหนื่อย แค่ผู้สนใจอยากได้ยศ เรื่องราช จ่ายเงิน ยศ และเครื่องราชไร้ค่า ก็จะได้มา ซึ่งผมเองก็เคยได้รับการติดต่อจากสำนักเจ้าในอินโดเนเซีย ว่า ถ้าอยากได้ยศ เครื่องราช ก็เชิญบริจาค 5 หมื่นบาท เป็นเจ้าสำนักเจ้าเกรดต่ำ ราคาเลยถูกมาก ถ้าเกรดสูงๆ ราคาซื้อน่าจะแพงกว่านี้ แม้แต่ในภาคใต้ฟิลิปปินส์ ราคาสองสามแสนบาท

            สำหรับการเปิดตัวซื้อขาย หรือบางเจ้ามอบฟรีแก่บุคคลสำคัญ เพียงสร้างเครดิตแก่สำนักตัวเอง พฤติกรรมเช่นนี้ปัจจุบันพบว่าในมาเลเซีย ก็มีบ้างแล้ว 


หมายเหตุ  
ภาพที 1  ตำรวจมาเลเซีย จับการมอบยศ เครื่องราชปลอม
                ภาพที่ 2  เป็นการมอบตำแหน่ง ดาโต๊ะ อย่างเป็นทางการ