Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /    “ซินเจียง” ระเบียงเศรษฐกิจจีน One Belt, One Road

รายงานพิเศษ :  “ซินเจียง” ระเบียงเศรษฐกิจจีน

ตอน : เส้นทางยุทธศาสตร์ One Belt, One Road (ตอน2)

โดย เอกราช มูเก็ม            

            สำนักข่าวอะลามี่ : เส้นทางสายไหม (Silk Road) เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างอาหรับกับประเทศจีน ที่ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่เคยมีความรุ่งเรื่องมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยมีเมืองชายแดนอย่างซินเจียง” เป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ ทำให้อาณาจักรจีนเป็นจุดเชื่อมทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม จากโลกตะวันออกไปยังโลกตะวันตก

           ซินเจียง มีชื่อทางการว่า เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (Xinjiang Uygur Autonomous Region) นับเป็นหัวเมืองเอกและเป็นยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจ 1 ใน 5 เขตปกครองตนเองของประเทศจีน

           ปัจจุบัน  ซินเจียง “ได้กลายเป็นหัวเมืองเศรษฐกิจสำคัญทางฝั่งตะวันตกของจีน หรือ เส้นทางยุทธศาสตร์” One Belt, One Road

           Ms.Mubalake Mugaiti  รองอธิบดีด้านกิจการค้าต่างประเทศของรัฐบาลซินเจียง (Director General of Xinjiang Foreign Affairs Office, Vice President of Xinjiang People’s  Association for  Friendship เปิดเผยกับ นิตยสาร อะลามี่ ในระหว่างการเสวนา โดยมี Mr. Wu  Zhiwu   อุปทูตจีนประจำประเทศไทย และ Mr. Huang Xinhua  เลขานุการสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตทูตจีน ประจำประเทศไทย ร่วมอยู่ด้วย เมื่อเร็วๆ นี้เมื่อเร็วๆ นี้

          Ms.Mubalake Mugaiti  กล่าวว่า หลังจากผู้นำของจีนไปเยือนประเทศคาซัคสถาน ในปี 2013 และได้นำข้อเสนอเรื่อง Silk Road ใหม่ หรือที่เรียกว่า One Belt, One Road  แต่จะเป็นเส้นทางสายไหม ทั้งทางบกและทางทะเล  ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และเพื่อให้มีการส่งเสริมโครงการ One Belt, One Road จัดตั้งโครงการธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้รับการตอบรับจากประเทศสมาชิก 57 ประเทศ นับเป็นการส่งสัญญาณจากต่างประเทศตอบรับเป็นอย่างดี

           ส่งผลให้พื้นที่ ซินเจียง ในอดีตที่เป็นเพียงชายขอบของจีน แต่ปัจจุบันได้เป็นแกนกลางสำคัญของจีน ส่งผลให้มณฑลอื่นๆ ใกล้เคียงได้รับอานิสงค์จากโครงการนี้ไปด้วยโดยปริยาย สำหรับ 8 ประเทศ ที่ถือว่าเป็นระเบียงเศรษฐกิจของจีน ประกอบด้วย ประเทศมองโลเลีย รัสเซีย คาซัคสถาน ปากีสถาน  คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน และอินเดีย

         ทั้งนี้รัฐบาลจีนได้วางยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจ 5 ด้านประกอบด้วย 1. การประสานด้านนโยบาย ไม่เพียงกับประเทศ  8 ประเทศที่ติดพรมแดน แต่ยังรวมถึงอีก 20 ประเทศ ที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน

          2. หลักการเชื่อมโยงทางโครงสร้างพื้นฐาน ทางบกทั้งเส้นทางถนน และทางรถไฟ 3. ยังวางหลักการในการส่งเสริมการค้าระหว่างกัน  4. ส่งเสริมการใช้สกุลเงิน  และ 5. ประสานใจของประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจซึ่งกันและกัน

         จะว่าไปแล้ว เส้นทางสายไหม นับเป็นเส้นทางสำคัญในการเชื่อมโยงโลกมุสลิมกับจีนทางทิศตะวันตก  หลังจากโครงการนี้เกิดขึ้น การตอบรับจากประเทศมุสลิมอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศกลุ่มอาหรับ เริ่มมีการเชื่อมโยง ระหว่าง หนิงเซียะ ของจีน มีการจัดฟอร์รั่ม และการจัดเอ็กโป นับเป็นสัญญาฯ ทางบวกที่ประเทศต่างให้ความสำคัญ และตั้งความหวังกับโครงการนี้มาก

          เพราะนอกจากมีการค้าชายแดนแล้ว ยังตามมาด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ที่เติบโตค่อนตามมาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการการแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านศาสนา ทั้งอินโดฯปากีสถาน มีการเปิดใจคุยกันมากขึ้น



          “ ในปี  2011-2014  เราส่งบุคลการด้านศาสนาไปดูงานในยุโรป และอเมริกา ได้รับการตอบรับที่ดี  รัฐบาลจีนเองก็จัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา ไปศึกษาต่อประเทศอียิปต์  ซึ่งมีความเชื่อมั่นว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับประเทศมุสลิมมากขึ้น ตามกรอบ  One Belt, One Road ดังกล่าว ”

          อ่านต่อตอนจบ (ตอน3)

          อ่านย้อนหลัง ข่าวที่เกี่ยวข้อง : http://www.thealami.com/main/content.php?page=news&category=2&id=1595

หมายเหตุ: ตีพิพม์ครั้งแรก นิตยสารอะลามี่ ฉบับสิงหาคม 2559