Thailand Halal Assambly 2015
โชว์ศักยภาพ “ฮาลาลไทย ที่หนึ่งในโลก”
Thailand Halal world Number One
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
สำนักข่าวอะลามี่ : หากจะเอ่ยถึง ระบบฮาลาลเมืองไทย น้อยคนจะไม่รู้จัก “ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน” เพราะท่านผู้นี้ทุ่มเทกับการนำระบบวิทยาศาสตร์มาประยุคใช้กับระบบฮาลาลรายแรกของประเทศไทย จนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
และด้วยผลงานตลอดชีวิตที่ทุ่มเทกับงานนี้ ในที่สุดท่านได้รับการประกาศรายชื่อติด 1 ใน 500 มุสลิมผู้ทรงอิทธิพล ใน “ หนังสือ 500 มุสลิมผู้มีอิทธิพลต่อโลกปี 2012” (The Muslims 500; The World s 500 Most Influential Muslims) ของรัฐบาลจอร์แดน
เมื่อกล่าวถึงเรื่อง “ ฮาลาล “ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน” ในฐานะผู้อำนวยการ และผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฮาลาล มีหลายส่วนที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งเรื่องของวิชาการ และเรื่องอุตสาหกรรม เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งนี้มองว่า ถ้าจะให้ฮาลาลมีความมั่นคง สำคัญที่สุดคือต้องมีเรื่องวิชาการเข้าไปสนับสนุน
“ อย่างไรก็ตาม พบว่า งานฮาลาล ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องธุรกิจ อยากจะได้การรับรองฮาลาล และมีองค์กรศาสนาเข้ามารับรอง จะคุยถึงประโยชน์จากฮาลาล รวมถึงทิศทางและนาคตการเติบโตไปถึงไหน การประชุมทั่วโลกจะมีลักษณะเป็นอย่างนั้น”
รศ.ดร.วินัย บอกว่า เราอยากจะเห็นเวทีทางวิชาการ เพื่อจะทำให้ฮาลาล ได้รับความเชื่อถือ และยั่งยืน จึงดำหริที่จะจัดประชุมวิชาการขึ้นซึ่งนับว่าเป็นการจัดการประชุมครั้งแรกของโลก ในด้านของวิทยาศาสตร์ฮาลาล เมื่อปี 2006 และปี 2007 โดยใช้ชื่อว่า ” The First International Halal Science Symposium “ ซึ่งการจัดสัมมนาเราต้องการเครือข่าย โดยในประเทศประเทศไทย มี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ เราจัดเป็นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้น ขอให้ทางประเทศสมาชิกที่เข้ามาร่วมงานเป็นเจ้าภาพในครั้งต่อไปโดยเริ่มจากอินโดนีเซีย จัดครั้งต่อไป ตามด้วย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเซาท์แอฟริกา เป็นประเทศต่อไปที่ แต่พอปีถัดไป อินโดนีเซีย ไม่สามารถจัดงานได้ เพราะต้องใช้ทุนจำนวนมาก มาเลเซียเห็นโอกาส เลยเข้ามาขอเป็นเจ้าภาพเป็นปีที่ 2 “
และต่อมามาเลเซียก็เป็นเจ้าภาพต่อหลายครั้ง แต่ได้เปลี่ยนคอนเซ็ปต์ของงาน ในที่สุดก็มีการพัฒนาเป็นงาน” เวิล์ดฮาลาล รีเสิร์ท มาเลเซีย “ โดยงานวิชาการนี้ไปแพ็ครวมกับเอ็กซโปร์ และงานประชุมในด้านบิสสิเนส แต่ล่าสุด ปี2015 มาเลเซียไม่ได้จัด และ หยุดมาต่อเนื่อง 2-3 ปี
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นคิดว่าเราน่าจะกลับมาจัดงานประชุมอีกครั้ง โดยใช้ชื่อว่า งาน HASIB หรือ Halal Science, Industry & Business Conference เราก็จัดมาเป็นที่ 8 ในที่สุดเราก็เปลี่ยนรูปแบบการจัดงานโดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ใช้ชื่องานว่า “ Thailand Halal
Assambly 2014 “ ในงานจะประกอบไปด้วย Expro งาน Islamic study การศึกษาที่มีเรื่องของฮาลาล รวมถึง เรื่องของกฎหมายอิสลาม และงานการประชุม ด้านมหกรรมฮาลาล
สำหรับงาน “ Thailand Halal Assambly 2015 ในปีนี้ เราเตรียมงานค่อนข้างดีกว่าที่ผ่านมาจะมีเนื้อหาแน่นกว่า มีการประชุมของหน่วยงานที่มีการรับรอง Halal และ มีการรับรองเชิงฮาลาล โดยเปลี่ยนสถานที่จากเดิม จากห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิล์ด ด้วยการยกระดับงาน มาจัดที่ ศูนย์การประชุมแห้งชาติสิริกิติ์
“ ในงานนี้จะมีไฮไลท์ คือ ที่เราจะเปิดเรื่องของฐานข้อมูล ซึ่งเป็นฐานข้อมูล H 4 E โดยจะเพิ่มฐานข้อมูลเรื่อง Halal number เข้าไปเพื่อเป็นช่องทางในการตัดสินใจของผู้ประกอบการง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมทั่วไป ส่วนใหญ่จะรู้จัก E number อยู่แล้ว แต่ว่าในกรณีของ ฮาลาล จะเอา E Number มาใช้โดยตรงไม่ได้ เพราะบางตัวก็ไม่ฮาลาล “
รศ.ดร.วินัย กล่าวอีกว่า อุตสาหกรรม นับเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล ดังนั้น จะต้องหาฐานข้อมูล ที่เป็นประโยชน์กับอุตสาหกรรมฮาลาล เรียกว่า H number หรือ H for E ก็คือ จะต้องเอา H เข้ามาทดแทน E ให้ได้ทั้งหมด
“ โครงการนี้ เป็นโครงการใหญ่ที่เราทำการวิเคราะห์มาตลอดระยะเวลา 10 ปี คนโดยทั่วไปเรียกโครงการนี้ ว่า H number เราวิเคราะห์โครงการมาแล้วกว่า 8 หมื่นผลิตภัณฑ์ มีโรงงานที่เข้ามาร่วมทั้งหมด 554 โรงงาน มีคนงานที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ 150,000 คน เป็นโครงการขนาดใหญ่ ประเทศอื่นทำไม่ได้ ถ้าประเทศไทยต้องการเป็นผู้นำ นี่คืออีกบทบาทที่เราจะบอกในงานี้”
รศ.ดร.วินัย กล่าวถึงเหตุผลอีกอย่างที่แฝงในการจัดงานนี้ และคิดว่าน่าจะเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของมุสลิมคือ ที่ผ่านมางานนี้ต้องยอมรับว่าภาพของมุสลิมหรืออิสลาม ถูกกดทับจากคนบางกลุ่มทำให้ถูกคิดว่า อิสลาม หรือมุสลิม มีปัญหา อย่างไรก็ตาม หากดูดูในระบบฮาลาล พบว่า”ฮาลาล” ทุกคนมองในด้านบวก และคิดว่า ฮาลาล น่าจะเป็นทางออกของสังคมไทย เป็นทางออกของการท่องการเที่ยว อีกทั้ง เชื่อว่า ฮาลาล จะเป็นทางออกของเรื่องทุกเรื่องที่กำลังมีปัญหาอยู่ เป็นภาพบวกของสังคมมุสลิม
ดังนั้นเราต้องพยายามที่จะเข้าไปประคับประคองในเรื่องของฮาลาล ให้มีความเป็นเรื่องของวิชาการมากขึ้น ให้เอาเรื่องศาสนา โดยเอาวิทยาศาสตร์ เข้าไปสนับสนุน นี่คือเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีของเรา การเอา เราเอาวิทยาศาสตร์เข้าไปสนับสนุน ก็เพื่อที่จะทำให้ ฮาลาล เดินไปอย่างถูกทิศ ถูกทางมากขึ้น เพราะฉะนั้น ระบบงาน H Number จะทำให้ศักดิ์ศรีของมุสลิมไทยกลับคืนมา
รศ.ดร.วินัย กล่าวอีกว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญสังคมจะพัฒนาไม่ได้ ถ้าคนไม่มีรายได้ จึงจำเป็นจะต้องมีเศรษฐกิจเข้ามาช่วยจุนเจือสังคม แต่ว่าจะต้องเป็นเศรษฐกิจที่ฮาลาล หมายถึงไม่ใช่ มือใครยาวสาวได้สาวเอาและมีความถูกต้องเป็นสำคัญ ระบบเศรษฐกิจที่ถูกต้อง และ ฮาลาลที่ถูกต้อง สังคมก็จะได้เป็นประโยชน์ที่ย้อนคืนกลับมาในที่สุด
อย่างไรก็ตามการจัดงานในครั้งนี้เป้าหมายสำคัญและความคิดหวัง รศ.ดร.วินัย กล่าวว่า เขาคาดหวังสูงกับทุกงาน งานนี่ก็เช่นกันจะช่วยให้ภาพของมุสลิมและอิสลามดีขึ้น นอกจากนี้งานนี้จะเป็นการสร้างการยอมรับจากต่างประเทศต่อมุสลิมไทยและประเทศไทย และจะเป็นสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นมุสลิมมากขึ้น
“ ในงานจะมีการนำเสนอ งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ความก้าวหน้า นวัตกรรมของโลกอิสลาม นวัตกรรมของสังคมมุสลิม พัฒนาการของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ที่ได้นำเสนอแก่สังคม เหล่านี้ มันจะมีมิติหลายอย่างที่ทำให้คนเมองเห็นมุสลิมมีคุณค่า มีความน่าภาคภูมิใจ และ มุสลิมไม่ได้เสียหายอะไรอย่างที่คิด”
รศ.ดร.วินัย กล่าวในฐานะที่คลุกคลีกับเรื่องฮาลาล และเป็นบุคคลหนึ่งที่ขับเคลื่อน ระบบฮาลาล ไทยมายาวนาน ได้วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของ ฮาลาลไทย ว่า เราโชคดี ที่ พระเจ้า ประทาน เรื่องฮาลาล มาให้ ปัจจุบันเราได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ และผมคิดว่า เรามีจุดดีเยอะมากเมื่อเทียบกับจุดเสีย ทั้งนี้เรามีความสำเร็จสูงในเรื่องฮาลาล ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย บูรไน ฟิลิปปินส์ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน เดินมาหาเรากันหมด แม้ในกระทั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี จีน แอฟริกา ตุรกี แคนนาดา อเมริกา ก็มาหาเรา มองว่าเราเป็นรูปแบบ
“ ส่วนจุดอ่อน คนไทยไม่เชื่อคนไทยด้วยกัน ซึ่งเราไม่เข้าใจ เราไม่ได้รับความเชื่อถือ เส่วนใหญ่เป็นคำพูดจากคนไทยเท่านั้น ขณะที่เราไปทั่วโลก คนทั่วโลกเขากลับยอมรับเรา ชื่นชมเรา แต่มาบ้านเรา ก็จะเห็นแต่คนไทย ตำหนิติงกันเอง”
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.วินัย กลับมองว่า วันนี้ ฮาลาลไทย ไปไกลมากแล้ว “ ..ผมเดินทางไป 47 ประเทศทั่วโลก ฮาลาลในประเทศไทยเป็นภาพบวกหมด เราไม่ได้มีปัญหาเหมือนอย่างที่ทุกคนบอก ทั้งนี้เราต้องใช้สายตาที่เป็นธรรม แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาดคือการบริหารจัดการ ถ้าเราได้มืออาชีพมาดูแล ทั้งเรื่องของการทำประชาสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์ ทีมเหล่านี้ ผมเรียกว่า “ทีมฮาลาลไทยแลนด์”..”
รศ.ดร.วินัย กล่าวถึงเป้าหมายที่วางไว้ คือ ฮาลาลไทย ที่หนึ่งในโลก ( Thailand Halal world Number One ) ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องอาศัยองคาพยพเป็นองค์ประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายกิจการฮาลาล คำว่า “ ฮาลาล” ซึ่งจะต้องออกมาโดยการรับรองของกรรมการแต่ละจังหวัด ดังนั้น เราจะต้องจัดทัพ จัดแถว คือ เป็นแนวหน้า และจะต้องจัดกองทัพให้ดี ซึ่งเราจะต้องไปช่วยจัด ในขณะเดียวกัน เราจะต้องสร้างความเชื่อถือให้ผู้ประกอบการเห็นว่า กรรมการจังหวัด ได้ทำหน้าที่ดีที่สุด
“ คนที่จะมาเป็นแกนกลางที่ผมมองไม่ใช่ธุรกิจ แกนกลางที่มอง คือ การออกการรับรองฮาลาล แต่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ เราจึงเอาวิทยาศาสตร์ เข้ามา บนสโลแกนที่ว่า “ ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ” เมือเราเข้มแข็งและมีค่า เชื่อว่ารัฐบาลก็ให้การสนับสนุน ฝ่ายการต่างๆก็จะเข้ามาสนับสนุน แต่เราจะต้องสร้างแกน ตรงนี้ให้ดีก่อน แต่กระนั้นจุดอ่อนที่เรามีอยู่มักจะไม่ค่อยเชื่อมั่นกันเองและสิ่งที่เราจำเป็นต้องทำ คือ ต้องให้เชื่อมั่นในองค์กรศาสนา ของเรา”
รศ.ดร.วินัย กล่าวถึงสถานการณ์ฮาลาลโลก ว่า ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกมูลค่ากว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ( เฉพาะอาหาร) ในจำนวนนี้มีไม่ถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสินค้าส่งออกที่ผ่านการรับรองฮาลาล ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเหล่านี้มาขอรับรองฮาลาล ซึ่งนั่นคือ เป้าหมายหนึ่งที่จะทำให้ฮาลาลไทย เป็นที่หนึ่งในโลก
อย่างไรก็ตาม พบว่า นิยามของคำว่าทุนในตลาดโลก วันนี้ไม่ได้หมายถึงตัวเงินเท่านั้น แต่คำว่าทุน ในวันนี้ภาพมันเปลี่ยนไปแล้ว ทุกอย่างเป็นทุนในภาคอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่า มนุษย์ สิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่ง ศาสนา และที่สำคัญคำว่า ฮาลาล วันนี้ ก็เป็นทุนอีกมิติหนึ่งของโลก
“ อย่างไรก็ตามพบว่า ทุนในส่วนของศาสนา ของวัฒนธรรม ในส่วนของความเชื่อ โตเร็วกว่าด้านอื่นๆ ซึ่งมีข้อมูลวิจัยยืนยัน ดังนั้น ฮาลาล อัลเลาะห์บอกว่า ไม่ใช่เป็นของเฉพาะมุสลิม ซึ่งวันนี้ได้พิสูจน์แล้ว ว่า ฮาลาลเป็นของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมูลค่าของตลาดฮาลาล โลก ณ วันนี้มีมูลค่ากว่า 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ/ปีขณะที่ประเทศได้ส่งออกถ้าเทียบสัดส่วนแล้วไม่ถึง 0.5 % นับว่าเรามีส่วนแบ่งทางการตลาดน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม เมือมองถึงตลาดฮาลาลของโลก แม้ว่าตลาดมุสลิมจะมีไม่มาก หรือ เปรียบเทียบประมาณ 20%ของตลาดโลก แต่จากนี้ไปตลาดฮาลาล ไม่ใช่เฉพาะตลาดมุสลิม แต่จะเป็นตลาดโลก คนในโลกนี้มีประมาณ 7 พันล้านคน ไม่ใช่แค่ตลาดมุสลิมซึ่งมีประมาณ 1,800 ล้านคนเท่านั้น ดังนั้นถ้ามองตลาดฮาลาล ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของโลก
“ ฮาลาล คือทางเดินใหม่ คือ เส้นทางใหม่ของธุรกิจ เนื่องจากในอนาคต คนจะบริโภคอาหารที่ดี และปลอดภัย และบริโภคที่มีคุณค่า ฮาลาล จึงต้องยกระดับ เพื่อป้อนให้คนทั้งโลกได้บริโภค ต่อไป”