ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมบูมสะพัดกว่า250ล้าน/ปี
สำนักข่าวอะลามี่ : ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นมุสลิมบูม เงินสะพัด250ล้านต่อปี ขณะที่ภาคเอกชนเร่งปรับตัว หลังพบว่า สินค้าจากอินโดนีเซีย- จีน ตีตลาดไทย "ดร.สุรินทร์" แนะรัฐบาลไทยเร่งสร้างความเข้าใจ มั่นใจศักยภาพเสื้อผ้ามุสลิมของไทยสู้ตลาดโลกได้
ข้อมูลจากศูนย์อำนวยการจังหวัดชายแดนภาคใต้ระบุว่าปี 2553 มีกลุ่มผุ้ผลิตเครื่องแต่งกายมุสลิมไม่น้อยกว่า 500 ครัวเรือนอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีมูลค่าการตลาดต่อปีไม่น้อยกว่า 250 ล้านบาท แต่ทว่าด้วยพฤติกรรมของมุสลิมทีเปลี่ยนแปลงการแต่งกายในรูปแบบที่ทันสมัย มีการประดับประดา ทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ออกสู่ตลาดมากขึ้น อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริมจากภาครัฐอย่างจริงในเรืองนี้มีคาดการณ์กันว่าภายในปี 2554 ตลาดเสื้อผ้ามุสลิมจะมีมูลคาสูงถึง 1,000 ล้านบาทเลยที่เดียว
นางสาวฮานา อารีส เจ้าของร้านอารีสเทรดดิ้ง ผู้ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้ามุสลิม กล่าวว่า ปัจจุบันร้านจำหน่ายอุปกรณ์แต่งกายมุสลิมเกิดขึ้นจำนวนมาก และมีการขายตัดราคากัน ทำให้กลายเป็นปัญหา แต่ยอมรับว่าปีนี้บูมมากๆ ซึ่งก็ทำให้ร้านค้าต้องพยายามที่จะเรียนรู้เรื่องเทรด และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป แต่ในบ้างครั้งมันมากไปก็ไม่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้การแต่งกายบ้างคนพยายามจะเลียนแบบไปทางอาหรับ หรือมุสลิมยุโรป แต่ด้วยบุคลิกและโครงสร้างหน้าที่ไม่เหมาะสมก็ดูไม่ดี ก็ทำให้ร้านจำหน่ายต้องพิจารณาเหมือนกันว่าเรากำลังขายอะไรให้กับเขา
"ตอนนี้ เทรนตลาดนั้นเปลี่ยนไปทั้งผู้ชายและผู้หญิง จะเน้นเสื้อผ้าที่ตัดเย็บละเอียดมากขึ้น อีกทั้งจะเน้นสีเยอะขึ้น ทำให้ต้องนำสีเข้ามาหลากหลายกว่าเมื่อก่อนด้วย นอกจากนี้ที่ขายดีก็มีผ้าบาติกซึ่งเขาจะนิยมใส่ทำงาน เสื้อหรือชุดปากี ขายอยู่ราคาประมาณ 600-800 บาทต่อตัว ผ้าบาติกก็ราคา ตั้งแต่ 350-2500 บาท ซึ่งที่ร้านก็มีทั้งที่เย็บในพื้นที่จังหวัดปัตตานี โดยเราออกแบบเอง และส่วนหนึ่งไปนำเข้ามาจากอินโดนีเซียที่รัฐสุบารายา ซึ่งที่นั่นมีโรงงานผลิตโดยตรง"
นายสาวฮานา กล่าวอีกว่า ไปนำผ้าจากอินโดนีเซียปีละ 2 ครั้งหลักๆ แล้วจะจำหน่ายที่งานเมาลิดกลางกระบี่ และงานฮาลาลที่สงขลา แต่หลังจากออกงานมาระยะหนึ่งทำให้มีลูกค้าเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าผุ้หญิง ที่มีการแต่งกายหลากหลายสไตฟ์มากขึ้นเมื่อก่อนฮิญาบ ก็จะคลุมแต่ปัจจบันก็มีผ้าปาวา เป็นลักษณะการพันแทน และอินโดนีเซีย เขาจะมีลาวหลากหลายให้เลือกก็ถูกใจลูกค้า
อย่างเสื้อกุรง เขาจะชอบแบบมีลวดลายดอกไม้กันมากขึ้น การออกแบบก็จะเน้นคลาส ลูกค้าที่ร้านจะเป็นกลุ่มกลางและบน ดังนั้นเสื้อผ้าจะเน้นมีสไตล์ไม่ได้ทั่วไป แต่ร้านขายเสื้อผ้า เครื่องประดับมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นมาก เพราะเขามีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน
" ตอนนี้ไม่ได้ฮิตเฉพาะตามร้าน แต่มีขายผ่านเฟรซบุ๊ค ส่งผลให้ตลาดโตไปได้วย แต่เครื่องประดับที่นำเข้ามาถือว่าราคาขายนั้นยังสูงเกินไปส่วนหนึ่งนำเข้าจากจีน"นางสาวฮานา กล่าว
ด้านนายบุญสม ปูเต๊ะ เจ้าของร้านบุญกีนี ฮาซานะฮ์ จำหน่ายผ้าชุดจากอินโดนีเซีย มาลวีย เครื่องแต่งกายมุสลิม เสื้อกุรง ชุดผ้าคลุมหัว ฮิหยาบ กล่าวว่า ที่ร้านผลิตเสื้อผ้าเฟชั่นมุสลิมตลาดหลักอยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งกระบี่ภูเก็ต ซึ่งหลังจากที่มีเสื้อผ้าอินโดนีเซียเข้ามาตีตลาดก็ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการออกแบบเพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตามยังเน้นการแต่งกายที่ถูกหลักศาสนา ซึ่งพฤติกรรมวัยรุ่นมุสลิมมีรูปแบบการแต่งกายที่เปลี่ยนไปก็ต้องฝากไปถึงผู้ปกครองที่จะต้องคอยช่วยกันดูแลลูก
" แน่นอนการแต่งกายที่เปลี่ยนไป ทางร้านก็มีเพชร มีคริสตัลมาเย็บตกแต่งลงอิหยาบมากขึ้น เพื่อให้มีสีสันและเป็นที่นิยม ซึ่งกระแสดังกล่าวไม่ใช่มีเฉพาะในภูมิภาคแต่ในกรุงเทพฯเองก็กำลังไหลเข้ามา"นายบุญสม กล่าว
นายอาซัน บินเต๊ะ เจ้าของร้านเสื้อผ้ามุสลิมขายส่งตลาดพล่าซ่า หาดใหญ่ เปิดเผยว่าทางร้านขายส่งเสื้อผ้ามุสลิมลงไปในพื้นที่ 3 จังหวัดเสื้อผ้านั้นออกแบบเองและส่งให้ร้านที่อินโดนีเซียตัดเย็บ ซึ่งจะได้ราคาดีกว่าในพื้นที่เนื่องจากค่าแรงถูกกว่าและฝีมือปราณีตกว่า และลวดลายของอินโดนีเซียกำลังเป็นที่ต้องการ รวมทั้งเครื่องประดับเพชร กำลังกลายเป็นที่นิยม ทำให้ร้านต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าที่นำเข้ามา
ลูกค้าที่มาเดินเลือกซื้อก็มีทั้งคนทั่วไป และร้านขายต่อ ซึ่งมาเลเซียเองก็มากหาซื้อ และโดยเฉพาะลูกค้ามาเลเซียเองนิยมมาเลือกซื้อเพราะราคาขายถูกกว่า
นายอาซัน กล่าวอีกด้วยว่าผู้ประกอบการไทยเองก็ต้องปรับตัวเยอะ ผู้ผลิตใน 3 จังหวัดก็ต้องปรับเปลี่ยน โดยร้านนั้นสั่งจากกลุ่มแม่บ้านในพื้นที่ปัตตานี การออกแบบต้องปรับ เยอะเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
ด้าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน ซึ่งเดินสทางมาเป็นกำลังใจให้พี่น้องมุสลิมสงขลาในช่วงออกบวชถือศีลอดรอมฎอน ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่โรงแรมเซ็นทรัลเซ็นทารา หาดใหญ่ว่า ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือการมาเป็นผู้ร่วมผลิตเพื่อป้อนตลาดอาเซียน ประชาคมอาเชียนหากเราสังเกตแต่ลประเทจะมีนิสมาร์เก็ต คือตลาดพิเศษที่คนอื่นเข้ามาไม่ได้ อย่างหมวกมุสลิมผู้ชายทำในจังหวัดปัตตานี เราสามารถส่งขายไปถึงซาอุอาระเบียแต่วนนี้สู้จีนไม่ได้ เพราะจีนเองเขาพัฒนา เขาใช้เครื่องจักร มีเครื่องมือผลิตจึงสามารถผลิตได้ใรวอลลุ่มใหญ่ หรือ อาปายะ ผ้าดำคลุมผมทำให้เป็นเฟชั่น
"แฟชั่นของไทยเราสามารถทำได้เรามีความสามารถพิเศษในการถักทอ เป็นทักษะพิเศษ และเรามีความเข้าใจในวัฒนธรรมของเขา เพียงแต่วันนี้เราขาดเทคโนโลยี ขาดเครือข่าย"
ดร.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า ในด้านการตลาดเราอาจจะทำเองไม่ได้ในทุกขั้นตอนการ การจำหน่ายต้องอาศัยแบร์นดดิ้ง เราผลิตแล้วใช้บริษัมมาเลเซีย ติดแบร์ดเขา หรือ ติดฉลากของใครก็ได้ อย่างวันนี้บริษัทอาหารทะเลที่เราผ่านกระบวนการแปรรูป เราใช้แบร์ด หรือผลิให้แบร์ดต่างประเทศ แต่ที่สำคัญคือต้องครองตลาดไว้ได้ ในเมื่อตลาดเราทำไม่ได้
" เสื้อผ้าเฟชั่นมุสลิมของเราปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีสีสันมีวิวัฒนาการตัดเย็บ เพียงแต่เราต้องเข้ามาส่งเสริมเพิ่มขึ้นในเรื่องของวิธีการ ตลาดในอาเซียน่าสนใจอินโดนีเซียคนฐานะระดับปานกลางประมาณ อินโดนีเชีย 24 ล้านบาท มาเลเซียอีก 24 ล้านคนในประเทศไทยอีก ครึ่งหนึ่งเป็นสตรีที่พร้อมจะมาเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งเราต้องให้ความสำคัญในการจัดการ การดูแลระบบขนส่ง จัดการระบบลอจิกติกส์"
ดร.สุรินทร์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามส่งเสริมแต่หากขาดความเข้าใจที่แท้จริง ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราทำไม่ได้ อาจจะเริ่มต้นได้ช้าหน่อย แต่หากตั้งใจหันหน้าเข้าหากัน สถาบันการเงิสนับสนุนน สถาบันเฟชั่นตางๆ เข้ามามีบทบาทมีส่วนช่วยเป็นที่ปรึกษา การโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นระบบก็จะสามารถสร้างตลาดใหม่ๆขึ้นมาอีกตลาดหนึ่งทีเดียว
ทั้งนี้รัฐบาลต้องเข้าใจกลไกการผลิตเข้าใจการผลิต เข้าใจชุมชน เข้าใจวัฒนธรรม เข้าใจเอกลักษณ์ตลาดนี้ และเห็นว่ามีศักยภาพจริงๆ รัฐบาลต้องเข้ามา ข้างล่างเองก็ต้องสร้างดีมานซ์ขึ้นไป คนมีพลังปากมีเสียง ส่งกระแสขึ้นไป อย่างไรก็ตามรัฐบาลทุกรัฐบาลต้องการช่วยประชาชนแน่นอนเมื่อเข้าใจทุกอย่สงจะเดินหน้าไปได้