Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล โชว์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล โชว์ความเชื่อมั่นผู้บริโภค

+++ ชู "ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ”

            สำนักข่าวอะลามี่ : ในขณะที่ความซับซ้อนของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ก่อความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมุสลิม จึงใส่ใจในมาตรฐาน“ฮาลาล และปลอดภัย” มากขึ้นเช่นกัน

            การตรวจสอบรับรองฮาลาล ที่มีคุณภาพ จึงเป็นหนึ่งในการสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จึงบูรณาการระบบปลอดภัยเข้ากับมาตรฐานฮาลาลโลก

            รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยกล่าวว่า มาตรฐานฮาลาลประเทศไทยกำหนดให้มาตรฐานความปลอดภัยในเชิงสากลเป็นเชิงพื้นฐานของฮาลาลพร้อมกัน ซึ่งตรงกับศานบัญญัติอิสลามว่า“ตอยยิบ” อันหมายถึง ดี ถูกสุขอนามัย สะอาด ปลอดภัย ตามหลักการ(เป็นที่อนุมัติ)

            ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองฮาลาล จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลฯ ได้พัฒนา ระบบ HALAL-Q  ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการเพื่อการจัดเตรียมอาหารระบบปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยบูรณาการ มาตรฐานฮาลาล (Halal Standardization) เข้ากับมาตรฐานสากล ได้แก่ SOP. GMP. GAP. HACCP. ฯลฯ

             รศ.ดร.วินัย กล่าวถึงการจุดเริ่มต้นของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลว่า เริ่มตั้งแต่เมื่อปี 2538 เราพยายามสร้างต้นแบบ (Model) ให้เป็นที่ยอมรับว่า ประเทศไทยเป็นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ตลอดจนเครื่องนุ่งห่ม อาหาร ระบบการขนส่ง(โลจิสติกส์) รวมไปถึงการบริการโดยคำนึงว่าทำอย่างไรให้ ตราฮาลาลของไทย มีคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค

            " ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลา ตั้งอยู่ในบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพื้นที่ในอาคารสองอาคาร พื้นที่กว่า 4,200 ตรม.มีบุคลากร 58 คน  มีนักวิทยาศาสตร์ระดับคุณภาพ 20 คน  90 % เป็นมุสลิม ทำหน้าที่ 6 ขั้นตอน ที่มาจากผู้บริโภค โรงงาน เก็บตัวอย่างจากตลาดและมีหน้าที่วางระบบ  ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายใต้“ ศาสนารับรอง วิทยาศาสตร์รองรับ โดยทำงานร่วมกับองค์กรศาสนา คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อย่างใกล้ชิด"”.." รศ.ดร.วินัย กล่าว

 
ตีพิมพ์ครั้งแรก : นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2556