Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   เศรษฐกิจฮาลาลบูม 'ซีพีเอฟ'บุกตลาด AEC

เศรษฐกิจฮาลาลบูม ซีพีเอฟ บุกตลาด AEC

+++ อุตสาหกรรมฮาลาลเงินสะพัด 7แสนล้านดอลลาร์ยูเอส

 

         


      นิตยสาร ดิ อะลามี่  ฉบับนี้เราขอนำท่านรู้จักตลาดอุตสาหกรรมฮาลาล และตลาดฮาลาลโลกผ่านมุมมอง  “ วิทวัส ตันติเวสส ” รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหาร (Branded Products) บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน)หรือ ซีพีเอฟ

มุมมองต่อธุรกิจอาหารฮาลาล

             ตามหลักศาสนาอิสลาม มีขั้นตอนและกระบวนการผลิต เนื้อสัตว์บางประเภทห้ามบริโภคแต่ว่าสัตว์บางประเภท เรามีความชำนาญและเชี่ยวชาญ เช่น ไก่ ตามหลักของศาสนาอิสลาม ก็มีการเชือดโดยผู้เชือดต้องเป็นมุสลิม ก่อนนำไปปรุงอาหาร

             ถ้าเราเข้าใจในบทบัญญัติของหลักศาสนาอิสลามก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคทุกคน ในเรื่องของอาหารฮาลาล ไม่เฉพาะสำหรับผู้บริโภคที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น แต่สำหรับผู้บริหารทั่วไปทุกคน เพราะฉะนั้นทางบริษัทของเราก็มีการผลิตสัตว์ปีกทุกตัว ตามขบวนการศาสนาอิสลาม และเป็นที่ยอมรับจากฮาลาลโลก

มุมมองผลิตภัณฑ์ฮาลาลต่อตลาดที่เป็นประชากรมุสลิม

            ตัวเลขของต่างประเทศ ประชากรมุสลิม 25%ของโลก คือ ประมาณ 2 พันล้านคน ประชากรมุสลิมถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่ของโลก ในเมืองไทยตัวเลขกระทรวงมหาดไทยประมาณ 10 ล้านคน โดยมูลค่าของตลาดอาหารฮาลาลของโลก ในปี 2552 พบว่ามูลค่าเกือบ 7 แสนล้านเหรียญดอลลาร์ยูเอส ถือว่าเป็นตัวเลขที่ใหญ่มาก

มองภาพรวมของอุตสาหกรรมอาหารประเทศไทยอย่างไร

            หากดูการขับเคลื่อนของประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือจีน รัฐบาลให้การสนับสนุน ทั้งนี้มองว่าน่าจะเป็นโอกาสของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย ที่จะเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมฮาลาลโลก จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาลอย่างจริงจัง

             “ เท่าที่ทราบรัฐบาลมีความตั้งใจยกระดับคุณภาพของการผลิตอาหารฮาลาล ตั้งเป้าให้เป็นศูนย์วิทยาศาสตร์ และศูนย์ฮาลาล หากต้องการให้สินค้าของเราได้รับการยอมรับภาครัฐได้เข้ามาช่วยให้ข้อมูลโดยเฉพาะกับผู้ประกอบการรายย่อยให้มากขึ้น”

วางตำแหน่งของ CPF ในเป็นผู้ผลิตอาหารฮาลาลอย่างไร

             ในแง่การทำธุรกิจ เราตั้งใจทำตั้งแต่ต้นน้ำ ยันปลายน้ำ คือเรามีFeed(อาหารสัตว์)Fram(การเลี้ยงสัตว์ และ Food (การแปรรูปอาหาร) ทั้งนี้การดำเนินธุรกิจที่ครบวงจร ซึ่งตรงนี้มีข้อดี คือจะรักษาคุณภาพ สามารถตรวจสอบย้อนได้ คือวางการในแง่ของกลยุทธ

             สำหรับตลาด คู่แข่งของ CPFถ้ามองตลาดภูมิภาคเอเชียด้วยกัน คิดว่ายังไม่มีผู้เล่นในภูมิภาคนี้ ซึ่งปัจจุบันเราเริ่มไปลงทุนในอาเซียนหลายประเทศ เนื่องจากCP มีความแข็งแกร่งในเรื่องแบรนด์ล่าสุดเราขยายการลงทุนไปที่ มาเลเซีย*ซึ่งเป็นฐานหลักของการผลิตอาหารฮาลาลของซีพีเอฟนอกจากนั้น ในตลาดของประเทศ จีน และ อินเดีย เราก็ให้ความสนใจ เนื่องจากมีฐานของผู้บริโภคอาหารฮาลาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างในจีนมีผู้บริโภคอาหารฮาลาลกว่า 134 ล้านคน และ อินเดียมีผู้บริโภคกว่า 240 ล้านคน

              “การเปิด AEC  คิดว่ามีทั้งดีและเสีย ข้อดี คือทำให้อุตสาหกรรมสามารถส่งสินค้าเกษตรได้มากขึ้นเพราะภาษีลดลง เนื่องจากอาเชียนเป็นตลาดใหญ่ ประชากร กว่า 600 ล้านคน อีกแง่ของการผลิตคือการนำวัตถุดิบในราคาถูก ก็จะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ทำให้เราเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบได้

              ส่วนข้อเสียที่เราจะต้องระวัง คือ มันอาจจะทำให้เกิดมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศอื่นเข้ามา แต่สำหรับเรื่องอาหารเราไม่กังวลเพราะเชื่อว่า รสชาติอาหาร และวัฒนธรรมทางการรับประทานที่แตกต่างกัน จึงเชื่อว่าไม่มีผลกระทบ

              สำหรับผู้ประกอบการในประเทศไทย ในแง่ของอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งที่เราจะต้องทำการปรับปรุงเพื่อแข่งขันกับตลาดโลกได้ จะต้องนำเข้าเครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามา สำหรับในส่วนการผลิต จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้า โดยการแปรรูปสินค้าเพิ่มขึ้น

CPF วางแผนนำสินค้าฮาลาลออกไปสู่ตลาดโลกอย่างไร

             เราเน้นการลงทุนอยู่ในหลายประเทศ ในเรื่องของตลาดใหม่ๆ เราได้เริ่มมีการส่งสินค้าที่เป็นตัวไก่ทั้งตัวแช่แข็ง ส่งไปในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ส่วนสินค้าแช่แข็งที่เป็นสินค้าแปรรูปเราส่งมาผ่านทางมาเลเซีย

             “ โปรดักส์ของเราที่ส่งผ่านมาเลเซีย คือแบรนด์ 5ดาว ในอนาคตต่อไป เราจะปรับเปลี่ยนให้เป็นแบรนด์ CPคาดว่าภายในปีนี้ “

มองโอกาสและตลาดฮาลาล

               ตลาดฮาลาล เราอาจจะมองแค่อินโดนีเซีย มาเลเซีย และมีตลาดอยู่หลายตลาด ไม่ว่าจะเป็นอินเดีย จีน และตลาดเกิดใหม่ในเอเชียกลางที่เคยเป็นอาณานิคมของรัสเซีย นอกจากนี้ตลาดในกลุ่มประเทศทางด้านที่ติดกับยุโรป ตุรกี อียิปต์ ถือว่าเป็นตลาดใหญ่

               ในแง่ของตุรกี รายได้ประชากรสูงและมีประชากรอยู่มาก กำลังซื้อสูง ตลาดอียิปต์ มูลค่าการตลาด15,500เหรียญดอลล่าสหรัฐส่วนอิหร่านมูลค่า13,000 เหรียญ/ปี

                “ แทนที่เราจะมองดูตลาดอย่างตลาดฮาลาลเดิมๆ เช่นมาเลเซีย อินโดนีเซีย คือโอกาสที่น่าสนใจ ปัจจุบันทางเราก็ยังมีการขายสินค้าไปยังประเทศนี้ยังมีอีกมาก”

คิดว่าเราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อแข่งขันการค้าในตลาดอาเซียน/ตลาดโลก

               ในส่วนของอาหารในฐานะCPF ทำธุรกิจด้านอาหาร เราต้องสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และเราทำอย่างสม่ำเสมอ ในเรื่องของการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แบรนด์สินค้าของเรามีความสะอาดปลอดภัย รสชาดอร่อย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

               “ เพราะฉะนั้นการสร้างแบรนด์เป็นภารกิจหลักที่เราจะต้องทำ จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคเขาเลือกสินค้าด้วยความเชื่อมั่น ว่าสะอาด ปลอดภัยและมีรสชาติที่ดี”

 

++++++++++++++++

รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนงบสร้างความน่าเชื่อถือแบรนด์ฮาลาลไทย

       

                   นายธนา  จุฑามาศ
ผู้จัดการสำนักเอกสารสำคัญและใบอนุญาต บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในเรื่องของการรับรองเครื่องหมายฮาลาล จริงๆแล้ว สิ่งที่เป็นเรื่องของทางรัฐบาลสนับสนุน ในเรื่องของศูนย์วิทยาศาสตร์ การทดลอง ซึ่งที่ผ่านมาเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาในเรื่องอุตสาหกรรมของอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกของไทย มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพสินค้าฮาลาล โดยมี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ เป็นประธานในการขับเคลื่อนดังกล่าว

                  “ การพัฒนาอาหารฮาลาล หน่วยงานขององค์กรที่ให้การรับรอง จะต้องพัฒนาศักยภาพ และสิ่งสำคัญ ที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ในการอบรมให้กับผู้ประกอบการมีความเข้าใจถึงการผลิต ผลิตภัณฑ์ของสินค้าสอดคล้องกับหลักการของศาสนาอิสลาม”

                   นายธนา กล่าวอีกว่า ไม่เพียงเท่านั้นอยากให้รัฐสนับสนุนองค์รับรองฮาลาล ถ้าอยากเห็นหน่วยงานหรือองค์กรเป็นที่ยอมรับ ได้รับความเชื่อถือและเชื่อมั่นรัฐอาจจะทำให้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอและต่อเนื่อง คาดว่าจะทำให้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นขององค์กรรับรองเครื่องหมายฮาลาล ได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการและผู้บริโภคทั่วไป

                    " เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาล อย่างมั่นคงและแข็งแรง จะต้องให้ทางรัฐบาลเป็นตัวขับเคลื่อน ให้ความรู้ในเรื่องโอกาสของกฎระเบียบ การส่งออกอาหาร แน่นอนเรามีรายใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน รายย่อยเราก็มีอยู่มาก "  ธนา กล่าวและว่า

                   นอกจากนี้จะต้องคิดว่าทำอย่างไรจะให้เครื่องหมายฮาลาลของไทย เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก เหมือนกับเรื่องหมายฮาลาลของมาเลเซีย  

                


                 หมายเหตุ  ; ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนมิถุนายน 2556