Hot Stories
Home   /   Hot Stories  /   สันติภาพชายแดนใต้ สัณญาณแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์

สันติภาพชายแดนใต้ สัณญาณแสวงสว่างที่ปลายอุโมงค์

โดย เอกราช มูเก็ม

               สำนักข่าวอะลามี่ ;  หลายฝ่ายเห็นฟ้องแนวทางกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพของรัฐบาลไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น  เผยเป็นความต้องการของสังคม นับเป็นอีกประวัติศาสตร์น่าที่ยกย่องรัฐบาลไทย กล้าคิด กล้าทำ หลังจากเรื่องนี้เยื้อมานาน  ชี้เป็นสัญญาณที่ดี

               การลงนามการแสดงเจตนารมย์ทั่วไปในกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ  ระหว่างเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ของไทยกับกลุ่มขบวนการบีอาร์เอ็น  ซึ่งถูกระบุว่าเป็นกลุ่มที่ก่อความไม่สงบในชายแดนใต้ โดยมีประเทศมาเลเซีย เป็นตัวกลางในการจัดพบปะกัน  เมือวันที่28กุมภาพัน์ 2556 นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์และเป็นมิติใหม่ในการแก้ปัญหาจังหวัดช่ายแดนใต้

               สำหรับตัวแทนฝ่ายขบวนการบีอาร์เอ็น มี นายฮาซัน ตอยิบ หัวหน้าฝ่ายประสานงานต่างประเทศขบวนการ บีอาร์เอ็น โคออดิเน็ท ผู้รับมอบอำนาจพร้อมแกนนำอีก 5 คน โดยตัวแทนฝ่ายไทยที่ร่วมพิธีประกอบด้วย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ท.สุรวัฒน์ บุตรวงษ์ ผู้แทน กอ.รมน. พล.ต.ท.สฤษดิ์ชัย เอนกเวียง ผบช.สันติบาล และผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส

                ขณะที่ตัวแทนประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย ดาโต๊ะมูฮัมหมัด ทาจูดดิน บินอับดุลวาฮับ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติมาเลเซีย พร้อมด้วย รมช.ต่างประเทศมาเลเซีย ผู้บริหารระดับสูงของมาเลเซีย

                การลงนามดังกล่าว ทางการมาเลเซีย ได้อำนวยความสะดวกในเรื่องของสถานที่และประสานงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

               นายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย แสดงความยินดีโดยกล่าวภายหลังการลงนาม ในเอกสารแสดงเจตจำนงเข้าสู่กระบวนการพูดคุยสันติภาพ (General Consensus on Peace Dialogue Process) ที่ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นลงนามร่วมกับเลขาธิการสภาความมั่นคง (สมช.) ของไทย ว่า การหาความเห็นร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การพูดคุยสันติภาพนับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสันติภาพ การลงนามร่วมกันดังกล่าวจะนำไปสู่การยุติความรุนแรงและสันติภาพที่แท้จริงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

                ทั้งนี้ การพูดคุยสันติภาพ (Peace Dialogue) เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเป็นความหวังของผู้คนจำนวนมาก และเป็นความหวังของอาเซียนด้วย อย่างไรก็ดี หลังจากนี้ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นับจากนี้ กระบวนการจะเริ่มต้นอย่างเป็นทางการโดยเลขาธิการ สมช.ของไทยและมาเลเซีย จะทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

           "มาเลเซียสนับสนุนให้มีการพูดคุย และมีความยินดีที่จะอำนวยความสะดวกให้เกิดการพูดคุยสันติภาพ ตลอดจนสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นบริเวณชายแดนของทั้งสองประเทศ"  นายนาจิบ กล่าว

               พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การเจรจาเป็นหลักการของการสร้างสันติภาพ แต่ยังกังวลว่า เจรจาถูกกลุ่มหรือไม่ อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยของฝัร่งที่เคยวิจัยเรื่องกระบวนการต่อสู้ของไอร์แลนด์ของอังกฤษและเคยวิจัยเรื่องปัยหาชายแดนใต้ ระบุว่าปัญหาสำคัญที่ไม่บรรลุความสำเร็จในการแก้ปัญหาคือความไม่จริงจังของรัฐบาล

                “การที่รัฐบาลลงนามในครั้งนี้รับเป็นความกล้าของรัฐบาล และคิดว่ารัฐบาลน่าจะรับรู้ในแง่ข้อมูลใหม่ ซึ่งในอดีตก็มีองค์กรพยายามเข้าสู่การเจรจาหลายครั้ง ครวมถึงในยุคที่เป็น ผบทบ.ก็เคยเจรจาหลายครั้ง ซึ่งการเจรจาในครั้งนี้นับว่าเป็นความหวังของคนในพื้นที่และสังคมไทยทั่วไป”

                 ดร.อารง สุทธาศาสน์ นักวิชาการอิสระมุสลิม กล่าวว่า การเจรจาเพื่อสันติภาพหลักสำคัญอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะต้องกล้าเปิดเผยข้อมูล ครั้งนี้นับเป็นครั้งสำคัญที่รัฐบาลกล้าเปิดเผยในเรื่องการลงนามสันติภาพ โดยให้มาเลเซียเป็นตัวกลาง ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลมาเลเซียและรัฐบาลไทย คงมีข้อมูลที่ดีว่าเป็นตัวจริง ส่วนการจะส่งใครมาเจรจาไม่ใช่เรื่องแปลก

                  “การเจาจาต้องใช้ความอดทน เพราะการเจรจาไม่สามารถสรุปได้ในเร็ว อย่างไรก็ตามมองว่าการริเริ่มเปิดเจรจาในครั้งนี้จะเป็นสัณญาณที่ดีในการสร้างสันติสุข”

                 อาจารย์วินัย สะมะอุน  อิหม่ามมัสยิดกมาลุลอิสลาม เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงเรื่องเดียวกันว่า การเจรจาสันติภาพ  ตรงกับแนวทางที่ศาสนาอิสลาม ในการส่งเสริมให้มีการพูดคุยเพื่อให้สังคมมีความสันติสุข แน่นอนผู้เจริญและผู้ศรัทธาย่อมเห็นด้วย

               “การลงนามสันติภาพในชายแดนใต้เป็นเรเองที่ดีและเป็นสิ่งที่คนไทยอย่ากเห็นสันติภาพ แต่สำคัญที่สุดการแก้ปัญหา ต้องยึดความบริสุทธิ์ใจในการแก้ปัญหา อย่าแก้ปัญหาเพื่อให้ตัวเองพ้นจากการตำหนิ หรือ อย่าหวังประโยชน์ทางการเมืองมากกว่าเพื่อประชาชน”

                นอกจากนี้พรรคการเมืองไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ควรแข่งขันการทำความดี หากสิ่งไหนถูกต้องควรสนับสนุน หากทุกพรรคยึดการแข่งขันความดี ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ผู้สนับสนุนก็ย่อมเข้าไปส่งเสริมพรรคการเมืองได้

                ขณะที่ " ซัมซูดิง วันฮูเซน” เจ้าของร้านอาหารต้มยำในกรุงกัวลาลัมเปอร์ กล่าวถึง ความพยายามสร้างสันติภาพของรัฐบาลในครั้งนี้ว่าคนไทยจากสามจังหวัดที่มาทำงานร้านอาหารต้มยำที่มาเลย์ เฝ้าติดตามข่าวการสร้างสันติภาพรอบใหม่ด้วยความสนใจ พวกเรารู้ว่านายกจะมาพูดคุยในเรื่องนี้ มีความพยายามมาหลายครั้งแต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีความชัดเจน นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี  แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่จะแก้ปัญหา


หมายเหตุ:  ตีพิมพ์ครั้งแรก นิตยสาร ดิ อะลามี่ ฉบับเดือนมีนาคม 2556