เยอรมนีจับมือ5ประเทศอาเซียนพัฒนาครูรับเออีซี
สำนักข่าวอะลามี่: เยอรมนีจับมือ 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน และจีน พัฒนาองค์ความรู้ครูอาชีวศึกษา เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)
เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จัดประชุมระดับภูมิภาคเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะเชิงปฏิบัติของครูอาชีวศึกษาของประเทศไทย ลาว มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และจีน การประชุมครั้งนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งของ โครงการเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษาของ 6 ประเทศดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตและพัฒนาครูอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน
โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(BMZ) ให้ปฏิบัติงานในนามของรัฐบาลเยอรมนี โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี(ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2553 – ธันวาคม พ.ศ. 2556)
รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ แรงงานที่มีคุณภาพ ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ เนื่องจากครูอาชีวะมีไม่เพียงพอ และ ที่มีอยู่ส่วนหนึ่งยังต้องเพิ่มทักษะ รวมทั้งครูจบใหม่ ซึ่งยังขาดทักษะและประสบการณ์ ปัจจัยต่างๆ
"เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการผลิตแรงงานที่มีคุณภาพและเพียงพอตามความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้นการปรับปรุงการผลิตกำลังคนในระบบอาชีวศึกษา จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสอดคล้องกับกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ.2552-2561) ที่มุ่งพัฒนาครูยุคใหม่ให้มีคุณภาพ” รศ.ดร.นำยุทธ กล่าวและว่า
โครงการเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษานี้ จะช่วยสนับสนุนแผนพัฒนาของไทยดังกล่าว และยังเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาในภูมิภาค การประชุมระดับภูมิภาคที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในครั้งนี้ เป็นวาระสำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่สถาบันการศึกษาต่างๆในภูมิภาค จะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ เพื่อพัฒนาครูและศักยภาพของหน่วยงาน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ภายในปี พ.ศ.2563
ด้าน มร.โทมัส ชโรเดอร์ ผู้อำนวยการโครงการ RCP กล่าวว่า เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในประชาคมอาเซียนและจีนมีการพัฒนาในอัตราเร่ง ระบบการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมอาชีพ จึงจำเป็นที่จะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการอาชีวะและเทคนิคศึกษาต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสนองตอบต่อนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี โดยผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงาน
ทั้งนี้ โครงการเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา มุ่งส่งเสริมคุณภาพของครูอาชีวศึกษา โดยปรับปรุงสมรรถนะในการปฏิบัติงาน โดยร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ที่เป็นสมาชิก ในการพัฒนาทั้งด้านการสอนและการวิจัย รวมทั้งการปรับปรุงหลักสูตรต่างๆ และการจัดการการเรียนรู้ให้สอดคล้องกันอีกด้วย
" การพัฒนาและการฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษาเป็นสาขาหนึ่งที่ GIZ มีความเชี่ยวชาญ และให้ความสำคัญในการร่วมมือกับนานาประเทศ ความร่วมมือทางวิชาการไทย-เยอรมัน ได้ดำเนินมากว่า 55 ปีแล้ว โดยเริ่มจากการก่อตั้งโรงเรียนเทคนิคไทย-เยอรมันในปี พ.ศ.2502 ซึ่งถือได้ว่าการอาชีวศึกษาเป็นสาขาแรกของความร่วมมือทางวิชาการไทย-เยอรมัน นับแต่นั้นมา การศึกษาจึงกลายเป็นสาขาหนึ่งที่สำคัญของความร่วมมือ นอกจากนี้ GIZ ยังได้ร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ปรับปรุงคุณภาพการอาชีวศึกษาตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติ” มร.โทมัส กล่าว.
+++++++++++
Alami News Agency : Germany Joins Hands with 5 ASEAN Countries and China to Develop Vocational Teachers in Preparation for AEC
Rajamangala University of Thanyaburi(RMUTT)and Burapha University under the Ministry of Education are cooperating with the German International Cooperation(GIZ)in holding a regional conference to enhance the practical vocational competence in vocational teacher education. The conference is an activity of the Regional Cooperation Platform on Vocational Teacher’s Training and Education in Asia(RCP) involving collaboration with vocational teacher education (VTE) institutions in 6 countries including Thailand, Laos, Malaysia, Indonesia, Vietnam and China with an aim to improve the quality of vocational teachers at the institutional levels.
This collaboration project supported by German Federal Ministry for Economic Cooperation and Development(BMZ) on behalf of the German government will be implemented within the established three-year time frame, commencing in December 2012 and ending in December 2013.