Education
Home   /   Education  /   ชายแดนใต้สูญเสียบุคคลทรงคุณค่าในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ผ่านงานการศึกษา

ชายแดนใต้สูญเสียบุคคลทรงคุณค่าในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ผ่านงานการศึกษา

โดย : อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

           กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ Shukur2003@yahoo.co.uk

               ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

??? ??? ???? ???? ??????

????? ???? ?? ?????? ????? ???? ???

????? ????? ?? ???? ?????? ????? ?? ???????

              หนึ่งในบทขอพรเต็มจอมุสลิมใต้ส่วนใหญ่ในเช้าวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561เพราะ ท่าน ผอ. อาไซน่า อับดุลเลาะ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจะแนะ หมู่ที่ 2 บ้านจะแนะ. ตำบล : จะแนะ. อำเภอ : จะแนะ. จังหวัด : นราธิวาส. ได้กลับสู่ความเมตตาของอัลลอฮ เมื่อเวลา 01.00 น. ด้วยอาการหัวใจตีบเฉียบพลัน ซึ่งกำหนดเวลาละหมาดญานาซะห์ 14.30 น. ที่มัสยิดอัลวุสฏอ บาตัสบารู มะนังตายอ อ. เมือง จ. นราธิวาส


             ท่าน ผอ. อาไซน่า อับดุลเลาะถือเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการศึกษาเกี่ยวอิสลามศึกษาไทยเพราะท่านเป็นหนึ่งในบุคคลที่คิดนอกกรอบในโรงเรียนชายแดนใต้จองรัฐที่กล้านำวิชาอิสลามศึกษาเขาสู่ระบบจากเริ่มต้นที่ไม่ได้มีงบประมาณสนับสนุน จนกระทรวงศึกษาธิการนำแนวคิดท่านและคณะนำหลักสูตรอิสลามเข้าสู่รั้วโรงเรียนรัฐชายแดนใต้และขยายหลักสูตรนี้ในโรงเรียนทั่วประเทศไทยที่สนใจ จึงถือว่าชายแดนใต้สูญเสียบุคคลทรงคุณค่าในการแก้ปัญหาชายแดนใต้ผ่านงานการศึกษาอีกคนหนึ่งและหวังคนรุ่นหลังจะสานต่องานท่าน

            ก่อนหน้านี้ สื่อ thealami ได้เคยสัมภาษณ์ท่านและนำเสนอเรื่องราวท่านดังนี้

           การขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ประสบความสำเร็จ อาจจะเป็นเรื่องยากในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ใจจากสังคมรอบข้างด้วยแล้วยิ่งจำเป็น

             แต่ท่ามกลางกระแสความขัดแย้ง โรงเรียนจะแนะ ในพื้นที่ความรับผิดชอบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 นับเป็นโรงเรียนต้นแบบที่น่าสนใจ ที่สามารถบูรณาการศึกษา จนเป็นที่ยอมรับ ทั้งยังเป็นต้นแบบในการการขับเคลื่อนหลักสูตรสอนศาสนาอิสลามแบบเข้ม ในโรงเรียนของรัฐทั้งระดับประถม และมัยธมศึกษา อย่างเป็นรูปธรรม

              นายอาไซน์น่า อับดุลเลาะ หรือ อาจารย์อาไซน์น่า ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจะแนะ ผู้จุดประกายโครงการดังกล่าว บอกว่า หลังจากที่ได้เข้ามารับตำแหน่ง ผอ.โรงเรียนดังกล่าว ก็ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานการศึกษาร่วมกับชุมชน กิจกรรมแรกเลยคือ โครงการสุนัตหมู่ โดยนำเด็กในพื้นที่บริการอายุ 8-10 ขวบเข้าร่วมโครงการ

             “ ปัญหานี้เกิดขึ้นจากว่าเด็กผู้ชายทุกคนต้องผ่านพิธีกรรมนี้ และเมื่อผู้ปกครองไปดำเนินการเองก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะ และเด็กขาดเรียนเป็นเดือนๆ จึงทำโครงการนี้ขึ้นมา จากเฉพาะเด็กในพื้นที่บริการ ก็ขยายเป็นระดับอำเภอ ในช่วงแรกก็ประสานกับโรงพยาบาลนราธิวาส ต่อมาก็เป็นโรงพยาบาลจะแนะ บางปีมีเด็กเข้าร่วมโครงการนี้กว่า 200 คนจากชุมชนรอบข้าง โครงการนี้ปัจจุบันยังทำมาอย่างต่อเนื่องทุกปี และ ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี จากทั้งในเขตบริการและนอกเขต” “อาจารย์อาไซน์น่า กล่าวและว่า

            โครงการต่อมา ซึ่งทำร่วมกับชุมชนคือ การประกวดกวนขนมอาซูรอ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงแรกก็ทำเฉพาะโรงเรียนกับมัสยิด ประชาชนในเขตพื้นที่บริการต่อมาก็มีการการแข่งขันระดับอำเภอ ขยายผลจนมีชุมชนนอกเขตบริการเข้ามาร่วมแข่งขันด้วย

            จนกระทั่งเมื่อต้นปีมกราคม 2554 ทีผ่านมามีทีมจากทั่วทั้งจังหวัดนราธิวาสเข้าร่วม 42 ทีม และขยายผลไปยังขนมพื้นบ้านอื่นๆ เช่น ซูปะ ขนมกายอ ขนมกาซีกายู เป็นต้น และก็เป็นอีกโครงการที่ทำมาต่อเนื่องทุกปี

             อาจารย์อาไซน์น่า กล่าวอีกว่า ด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาในความรับผิดชอบให้สามารถยกระดับให้ได้ ในปี 2547 ได้พบว่า ผลสัมฤทธิ์เด็กที่จบไปมีมีปัญหาทั้งยังพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ จึงได้มีการประชุมกับผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษา ประกอบด้วย นายมาหะมะรานี กายอ คอเต็บมัสยิดบ้านจะแนะ นายอับดุลอาชิ บาโด คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส นายแพทย์อหมัดมูซูลัม เปาะจิ ผอ.โรงพยาบาลจะแนะ ได้ปรึกษาหารือและวิเคราะห์พบว่าสภาพปัญหา เกิดจาก 5 ประเด็น

              ประเด็นแรก เด็กประถมและมัยธมศึกษาบางส่วน มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ก้าวร้าว ไม่มีสัมมาคาวระ ขาดวินัย ติดยาเสพติด มั่วสุมในอบายมุข ละเลยคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ปฎิบัติตามหลักศาสนา

            2. คือการจัดการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัยธมศึกษาของรัฐ มีเวลาเรียนสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ไม่เพียงพอกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีที่นำเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในชีวิตประจำวัน

             3. ผู้ปกครองบางส่วนตามชนบทไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาเท่าที่ควร ทำให้เด็กขาดเรียนค่อนข้างมาก การเรียนอ่อน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อ่านหนังสือไม่ออก ออกกลางคัน

              4. เด็กวัย 5-12 ปี มีเวลาเรียนมาก ไม่มีเวลาจะอยู่ใกล้ชิดผู้ปกครอง หรือจะเล่นและพักผ่อนตามประสาเด็ก วันเสาร์-อาทิตย์ ต้องไปเรียนที่โรงเรียนตาดีกา ตามมัสยิดต่างๆ วันจันทร์-ศุกร์ เรียนตามโรงเรียนประถมทั่วไป ตอนเย็นต้องไปเรียนอัล-กุรอาน ตามบ้านโต๊ะครู หรือ สถาบันที่เปิดสอนอัล-กุรอาน

            และ 5.นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อจบไปแล้วได้วุฒิชั้น 4 แทนที่จะได้ชั้น 6 เมื่อไปเรียนมัยธมศึกษาปีที่ 1 ก็ต้องไปเรียนเพิ่มอีก 2-3 ชั้นทำให้เด็กเสียโอกาส หรือจบม. 6 แทนที่จะได้ชั้น 10 ก็ได้ชั้น 7-8 ทำให้เด็กต้องไปเสียเวลาเรียนเพื่อให้ได้ชั้นเท่าโรงเรียนสอนศาสนา

               อาจารย์อาไซน์น่า บอกว่า เพื่อเป็นทางออกในเรื่องนี้ ปี 2547 จึงได้ทดลองนำเด็กที่ผู้ปกครองยินยอม ในชั้น ป. 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 31 คน มาจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ที่อาคารเรียนของชุมชนดารุลนาอีม ซึ่งเปิดสอน อัลกุรอ่าน ตอนเย็นทกวัน ส่วนภาคบ่ายก็จะเป็น สาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา วิทยากรพิเศษจากชุมชนดารุลนาอีม รับผิดชอบ

               โดยโครงการดังกล่าวได้กลายเป็นต้นแบบและขยาย ได้ขยายโรงเรียนสอนแบบบูรณาการเพิ่มอำเภอละ 1 โรงรวม 7 โรง และล่าสุด ปีการศึกษา 2553 ในสมัยที่ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขยายโรงเรียนเพิ่มอีก 76 โรง รวมปัจจุบันมีโรงเรียน 2 ระบบ จำนวนมากว่า 350โรงเรียน

               นี่เป็นเพียงบางส่วนของโครงการนักบริหารการศึกษาที่กลายเป็นต้นแบบอีกทั้งยังเป็นการสร้างผลงานให้กับวงการการศึกษาจังหวัดนราธิวาส และ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่น่าชื่นชม

              http://www.thealami.com/main/content.php…