GIZ จับมือ สวทช.ผลักดันไทยสู่ผู้นำในระบบเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
สำนักข่าวอะลามี่ : องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ : German International Cooperation) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสังคม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยบนเวทีเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและระดับโลก
คุณสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ/สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการฉลองความสัมพันธ์ ไทย-เยอรมันครบ 150 ปี ในปี 2012 ซึ่ง สวทช.และ GIZ จะต่อยอดความร่วมมือที่มีอยู่อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมอย่างแรกคือ การบริหารสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจสีเขียวระดับโลก เนื่องจากจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงการค้าและสร้างเครือข่ายทางสังคมสำหรับผู้ประกอบการในกุล่มอาหารและเกษตรของไทย ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินธุรกิจสำหรับเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับพันธสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งมีกิจกรรมหลักทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อจัดทำเชิงนโยบายและการแก้ไขปัญหาแบบสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระดับชาติ ภูมิภาค และสากล อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยี ณ ประเทศเยอรมันอีกด้วย ในการส่งเสริมธุรกิจไทยในอนาคตนั้น ควรที่จะประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างนวัตกรรมที่เป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และเข้าใจแนวโน้มธุรกิจเทรนด์เทคโนโลยีจากทั่วทุกมุมโลก ที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในระบบการค้าและเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เปิดกว้างมากขึ้น และเน้นแนวการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ”
มร. เดวิด โอเบอร์ฮูเบอร์ ผู้อำนวยการ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ: ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย) กล่าวว่า “การผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสังคม ภายใต้กรอบความร่วมมือทางด้านวิชาการระหว่างประเทศไทยและเยอรมนีสามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น ความร่วมมือทวิภาคี ความร่วมมือไตรภาคี ความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับสากล และความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ ประเภทงบประมาณหรือทุน และความต้องการของหน่วยร่วมดำเนินงาน ดังนั้น การลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้ จึงเป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ GIZ แบบถาวร ที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ก้าวหน้า และเป็นผู้นำในระบบเศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืนบนเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยไม่ระบุประเภทของความร่วมมือ และไม่ระบุเวลาสิ้นสุดการดำเนินงาน การฝึกอบรมหลักสูตร “การบริหารสู่การเป็นผู้นำด้านธุรกิจสีเขียวระดับโลก” เป็นกิจกรรมแรกภายในกรอบความร่วมมือแบบถาวรนี้ โดยทั้งสองหน่วยงานตกลงดำเนินการร่วมกันในรูปแบบที่ให้เอกชนมี